เอกสารประกอบการประชุม
โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการปรับโครงสร้างการผลิต
วันที่ 8 พฤษภาคม 2549 เวลา 09.30 น. ณ ศาลากลางจังหวัดตาก
ผู้เข้าร่วมประชุม : นายปณิธิ ตั้งผาติ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดตาก
นายบรรพต ก่อเกียรติเจริญ รองประธาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทบทวนศักยภาพการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจของพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน
2. เพื่อศึกษาศักยภาพความเหมาะสมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ขีดความสามารถในการรองรับการพัฒนาของพื้นที่
3. เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารโครงการในการตัดสินใจกำหนดการพัฒนา และการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการรองรับทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
4. เพื่อเป็นรูปแบบหรือแนวทางในการวางแผนพัฒนาสำหรับการพัฒนาพื้นที่เฉพาะอื่นๆ ต่อไป
แนวทางการดำเนินงานรายองค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การบริหารโครงการ กำหนดให้มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ
องค์ประกอบที่ 1.1 การบริหารจัดการโครงการ
องค์ประกอบที่ 1.2 การศึกษาทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาล แนวทางดำเนินการและแผนงาน / โครงการที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก และพื้นที่เมียวดี ประเทศพม่า
องค์ประกอบที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ในเขตเศรษฐกิจชายแดน จังหวัดตาก
องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรและกำหนดแนวทางปรับโครงสร้างการเกษตร
องค์ประกอบที่ 4 การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดนจังหวัดตาก
องค์ประกอบที่ 5 การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐในเขตเศรษฐกิจชายแดน
องค์ประกอบที่ 5.1 การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐในเขตเศรษฐกิจชายแดนในมิติทางเศรษฐศาสตร์
องค์ประกอบที่ 5.2 การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐในเขตเศรษฐกิจชายแดนในมิติทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
แผนปฏิบัติการ
แผนงาน/ โครงการ ตามกรอบเวลาเป็น 3 ระยะ คือ เร่งด่วน ปานกลาง (2-3 ปี) และระยะยาว (4-5 ปี)
พื้นที่ที่เป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มีเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่
1) เกณฑ์เบื้องต้น
- พื้นที่ราบ โล่ง มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ขึ้นไป
- ไม่ใช่พื้นที่ชุมชน
- ไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ
- ไม่อยู่บริเวณคุณภาพลุ่มน้ำ (ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำพื้นที่ป่าที่ถูกปลูกไว้เพื่อนุรักษ์เท่านั้น)
2) เกณฑ์ผลกระทบและหน้าที่
การคัดเลือกพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม คัดเลือกจาก 6 พื้นที่ เหลือ 3 พื้นที่คือ
พื้นที่ที่ 1 : ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด
พื้นที่ที่ 2 : ต.พระธาตุ อ.แม่ระมาด
พื้นที่ที่ 3 : ต.ขะเนจื้อ อ.แม่ระมาด
รูปแบบอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์
อุตสาหกรรมการแปรรูปเนื้อโคและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากโค
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
อุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
อุตสาหกรรมแปรรูปไม้
อุตสาหกรรมพลังงานจากพืช
อุตสาหกรรมประมง
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กระบวนการมีส่วนรวม
นักวิชาการ, นักวิจัย, NGOs , ผู้นำชุมชน , ผู้นำ อบต. , ภาคเอกชน, ส่วนราชการ, ประชาชนทั่วไป
จัดพิมพ์
ปาณี หุตะมาน
จนท.หอการค้าจังหวัดตาก