สหภาพพม่าปกครองโดยคณะทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 320 พันล้านบาท ภาคเกษตรร้อยละ 5 ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ รายได้ประชากรต่อหัว 3,960 บาท (99 ดอลลาร์สหรัฐ)
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง สินค้าประมง ข้าว ยาง อัญมณี และแร่ธาตุ ประเทศส่งออกที่สำคัญคือ ไทย อินเดีย จีน ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเหล็ก โดยประเทศนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน สิงคโปร์ และไทย
2.สิทธิประโยชน์การลงทุน
2.1 กฎหมายการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ
1) การกำกับดูแล คือ คณะกรรมการการลงทุนแห่งประเทศพม่า (The Myanmar Investment Commission / MIC) และมีคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารจัดการการลงทุนและจัดการ (The Directorate of Investment and Company Administration /DICA) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ
2) รูปแบบของการลงทุนและทุนขั้นต่ำ ผู้ลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนโดยทุนต่างชาติทั้งหมดได้ หรือจะลงทุนร่วมกับหุ้นส่วนสัญชาติพม่าที่เป็นบุคคลธรรมดา บริษัทเอกชน สมาคมความร่วมมือ หรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ หากเป็นการร่วมทุนกับบุคคลสัญชาติพม่าต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า 35 % ของทุนทั้งหมด
3) การทำประกันภัย องค์กรธุรกิจต่างชาติจะต้องทำประกันวินาศภัยเครื่องจักร ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางทะเล และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล กับบรรษัทประกันภัยพม่า ส่วนประกันชนิดอื่นสามารถทำได้หากมีความประสงค์
4) การจ้างงาน จะต้องจ้างแรงงานพม่าเท่านั้น และปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำลังใช้บังคับอยู่
5) สิทธิประโยชน์ คณะกรรมการจะอนุญาตให้ผู้ลงทุนต่างชาติ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
6) หลักประกันการลงทุน รัฐบาลให้หลักประกัน โดยไม่ถูกยึดเป็นของรัฐตลอดอายุสัญญา หากธุรกิจสิ้นสุดลง สามารถถอนทุนต่างชาติได้เท่าที่เขามีสิทธิที่จะถอนตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนด
7) สิทธิในการโอนเงินสกุลต่างประเทศ สามารถโอนเงินต่อไปนี้ไปยังต่างประเทศได้โดยผ่านธนาคารการค้าต่างประเทศพม่า ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการ
7.1 เงินสกุลต่างประเทศที่เขามีสิทธิที่จะโอน
7.2 เงินสกุลต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ถอนจากคณะกรรมการ
7.3 เงินกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีและทุนที่กำหนด
3. อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ นิคมอุตสาหกรรมในสหภาพพม่า
1) การประมง รัฐบาลพม่าได้ให้สัมปทานการประมงแก่บริษัทต่างชาติร่วมลงทุนเท่านั้น และสนับสนุนธุรกิจประมงแบบครบวงจร การเจรจาสามารถติดต่อกับสถานทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง เพื่อประสานงานและเจรจากับทางสหภาพพม่า
2) การทำเหมืองแร่ รัฐบาลพม่าต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อนำเทคโนโลยีและเงินลงทุนเข้ามาพัฒนาการทำเหมือนแร่ จึงเป็นโอกาสดีของนักลงทุนไทย
3) อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ พม่ามีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณร้อยละ 42.30 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีนโยบายที่จะขยายพื้นที่ปลูก เพื่อป้อนให้โรงงานเอกชน เพื่อส่งเสริมการส่งออกไม้แปรรูป
4) อุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่ การผลิตผักและผลไม้กระป๋อง แปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ สิ่งทอ(เมียวดี ผะอัน) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล เช่นโรงงานปลาป่น ปลากระป๋อง ห้องเย็น (เมาะละแหม่ง มูด่อง)
5) อุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า (ขั้นปลาย) ย้ายฐานการลงทุนไปยังพื้นที่ชายแดน เนื่องจากที่ดินและแรงงานถูก
6) อุตสาหกรรมไบโอดีเซล ตามแผนความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการปลูกพืชน้ำมัน เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลของไทยในลักษณะของ Contract Farming
7) ธุรกิจก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง พื้นที่เหมาะให้การลงทุน ได้แก่ ผาอัน และเมาะละแหม่ง
8) ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว เน้นการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศน์ เนื่องจากพม่ามีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์พุทธศาสนา วัฒนธรรมดั่งเดิม
4. แผนการตลาด
1) แผนการตลาดระยะสั้น (1-2 ปี)
2) แผนการตลาดระยะปานกลาง (3-5 ปี)
3) แผนการตลาดระยะยาว (5-10 ปี)
5. การออกแบบและวางผังพื้นที่โครงการ
5.1) เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี สินค้าที่โดดเด่นได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมทั้งหยก ทับทิม พลอย และสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคจากประเทศจีน เมียวดีจัดเป็นเมืองชายแดนที่มีความสำคัญ จากแผนปฏิบัติการ ACMECS กำหนดให้เมืองแม่สอด- เมียวดีเป็น Sister Cities
5. ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
ระบบประปา , ระบบระบายน้ำ , ระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย , ระบบบำบัดน้ำเสีย , ระบบจัดการขยะมูลฝอย , ระบบจัดการของเสียอันตราย , ระบบไฟฟ้าระบบโทรศัพท์
5.2) เมาะละแหม่ง หรือเมาะลำใย เมืองใหญ่อันดับ 3 ของพม่า มีประชากรประมาณ 220,000 คน เคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของอังกฤษ ช่วงปี 1827-1852
เขตเศรษฐกิจพิเศษเมาะละแหม่ง มีเนื้อที่รวม 684.52 เอเคอร์ แบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ พื้นที่อุตสาหกรรม , พาณิชย์กรรม สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ , พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน, พื้นที่พักอาศัย
5.3) ผาอัน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยง เป็นเมืองพักอาศัย เป็นบ้านตึกชาวบ้านมีฐานะอยู่ในระดับปานกลาง เหตุผลในการเลือกที่ตั้งบริเวณรอบนอกของเมืองผะอัน เนื่องจากอยู่ใกล้เมืองกกับเมียวดีที่มีแหล่งวัตถุดิบในการผลิตทางด้านต่างๆ และอยู่ใกล้กับชายแดนไทยด้านอำเภอแม่สอด หากมีการพัฒนาขยายเส้นทางการคมนาคมระหว่างผะอันกับเมียวดี ในอนาคตการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่โครงการกับเมียวดี และประเทศไทยก็จะมีความสะดวกและรวดเร็วเป็นอย่างมาก
พื้นที่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษผะอัน อยู่ริมทางหลวงผะอัน-เมาะละแหม่ง-กอกาเร็ก มีขนาดพื้นที่ประมาณ 981 เอเคอร์ โดยเมืองผะอัน เป็นเมืองใหญ่ที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปถึงเมือวดี ระยะทางจากเมืองย่างกุ้งถึงผาอัน ประมาณ 371 กิโลเมตร เมืองผะอันอยู่ห่างจากอำเภอแม่สอด ประมาณ 243 กิโลเมตร
6. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
6.1) สภาพแวดล้อมปัจจุบัน
ที่ตั้งเมียวดี
เป็นพื้นที่ราบ สลับกับพื้นที่เนินลูกคลื่นเล็กน้อย ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรังเสื่อมโทรมและมีลูกไม้ขึ้นอยู่ทั่วไป สภาพอากาศมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี น้ำในคลองสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาไว้ใช้ในโครงการมีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำ เส้นทางหลักที่ผ่านพื้นที่โครงการ คือ ทางหลวงหมายเลข 85 โดยมีสายไฟฟ้าแรงต่ำผ่านพื้นที่โครงการไปตามแนวถนน บริเวณที่ตั้งและโดยรอบไม่มีพื้นที่ใดมีความน่าสนใจ หรือเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว หรือมีศักยภาพจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
ที่ตั้งเมาะละแหม่ง
ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ บางส่วนเป็นลูกคลื่น พื้นที่เดิมเป็นนาข้าว และสวนยางพารา ไม่มีพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญเชิงนิเวศ มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็กอยู่ติดทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่โครงการ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีปัญหาขยะและกลิ่นรบกวน มีแม่น้ำ Attran เป็นแหล่งน้ำที่มีศักยภาพจะใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ในนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต ควรสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก พลังงานไฟฟ้า เป็นปัญหาที่เมืองเมาะละแหม่งประสบอยู่ในปัจจุบัน และต้องการการปรับปรุงแก้ไข
ที่ตั้งผะอัน
สภาพพื้นที่เป็นทุ่งนาผืนใหญ่ จากการสำรวจไม่พบแหล่งกำเนิดมลภาวะทงอากาศ คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกับพื้นที่ชนบทห่างไกล ไม่มีทางน้ำธรรมชาติไหลผ่านหรืออยู่ใกล้พื้นที่จึงไม่มีปัญหามลภาวะทางน้ำ ดังนั้นการหาแหล่งน้ำดิบ จึงจำเป็นต้อนผันมาจากแม่น้ำสาละวิน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร เช่นเดียวกับที่ตั้งเมาะละแหม่ง ผะอันก็ประสบปัญหาความพอเพียงของพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน
6.2) ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบจากการพัฒนาโครงการทั้ง 3 ที่ตั้ง สรุปได้ว่าส่งผลบวกต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำเพียงบางประเด็น เช่น คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และการจัดการของเสีย เป็นต้น อย่างไรก็ตามโครงการมีมาตรการติดตามตรวจสอบและลดผลกระทบ
7. การศึกษาผลกระทบทางสังคม
7.1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม
สหภาพพม่าแบ่งการปกครองเป็น 7 เขต 7 รัฐ โดยมีกรุงเปียนมาน่า เป็นเมืองหลวงของประเทศ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคือ ภาษาพม่า ประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา-ทำไร่) และรับจ้างทั่วไป การศึกษาระดับพื้นฐานแบบ ชั้นมูล ชั้นกลาง และชั้นสูง แบ่งเป็น 10 เกรด มีโรงเรียน 39,078 แห่ง ครู 213,333 คน และนักเรียน 6,981,775 คน มีโรงพยาบาล 750 แห่ง 31,459 เตียง แพทย์ 15,981 คน และพยาบาล 14,925 คน
1) เมียวดี มีพื้นที่ศึกษาอยู่ห่างตัวเมืองประมาณ 8-10 กิโลเมตร มีถนนสาย 85 เป็นถนนสายหลักในการเดินทางระหว่างเมียวดี-ผะอัน และเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย-พม่า สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่นำเข้าจากไทย ประกอบอาชีพรับจ้างส่งสินค้าและทำการเกษตร ได้แก่ การทำนา-ทำไร่ พืชที่นิยมปลูก คือข้าวโพด ถั่วเหลือง หอม และกระเทียม ปัจจุบันประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเหมาะสมสำหรับนักลงทุนไทยเพราะพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศไทยสามารถเป็นฐานการผลิตได้ เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป การแปรรูป สินค้าเกษตร อุปโภคบริโภค และชิ้นส่วนอีเล็คทรอนิคส์
2) เมาะละแหม่ง พื้นที่ศึกษาติดกับถนนไฮเวย์สายเมาะละแหม่ง-ผะอัน มีถนนสาย 8 เป็นสายหลักในการเดินทางตะโถ่ง-เมาะละแหม่ง-ทวาย และเชื่อมต่อสาย 85 ซึ่งเป็นเส้นทางการค้ากับด่านแม่สอด (สะพานมิตรภาพไทย-พม่า) จ.ตาก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำไร่ พืชที่ปลูก เช่นข้าว (ส่งออก) มะม่วงหิมพานต์ และพริกไทย เป็นต้น ประชาชนนิยมอุปโภค-บริโภคสินค้าจากประเทศจีน เช่นเสื้อผ้า จักรยานยนต์ เป็นต้น เพราะราคาต่อหน่วยของสินค้าจากประเทศจีนจะถูกกว่าประเทศไทย และมีนิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็ก
3) ผาอัน เป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยงปัจจุบัน มีพื้นที่ศึกษาอยู่ติดกับถนนสายเมาะละแหม่ง-ผะอัน-กอกาเร็ก มีถนนสาย 85 เป็นถนนสายหลัก และเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย-พม่า สู่ด่านการค้าชายแดนแม่สอด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ได้แก่ การทำนา-ทำไร่ โดยผะอันจะเป็นเมืองทางเศรษฐกิจที่เชื่อมต่อระหว่างเมาะละแหม่ง ซึ่งเป็นเมืองด่านทางทะเลกับเมียวดีเมืองชุมทางการค้าชายแดน
4) มูด่อง อยู่ในเขตการปกครองของเขตตะนาวศรี มีพื้นที่ใกล้ชายแดนไทยบริเวณด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ เส้นทางขนส่งสินค้าจากด่านสิงขรไปยังท่าเรือที่เมืองมะริด มีบริษัทเอกชนรับสัมปทานขนถ่ายหินมายังประเทศไทยผ่านทางสิงขร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร ได้แก่ ทำนาทำไร่
7. ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐบาลพม่าที่รับผิดชอบด้านการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม
1) รัฐบาลพม่ายกเว้นค่าเช่าที่ดิน 10-12 ปี
2) รัฐบาลพม่าจะต้องให้สิทธิพิเศษในเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ นิคมอุตสาหกรรมตามความต้องการของนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสิทธิพิเศษนี้จะต้องดีกว่าหรือเท่าเทียมกับสิทธิพิเศษที่เขตเศรษฐกิจพิเศษใน สปป.ลาว และเวียดนามให้อยู่ในปัจจุบัน
3) จัดตั้งบริษัทประกันภัย และธนาคารพาณิชย์ภายในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้บริการประกันภัยในรูปแบบต่างๆ และการทำธุรกรรมการเงินเพื่อเอื้อต่อการดำเนินกิจการในการโอนเงินทั้งภายในและนอกประเทศ
4) จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร และSingle Window Inspection ในนิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้บริการในรูปแบบต่างๆ เช่นการขอและออกใบอนุญาตต่างๆ ในการดำเนินกิจการในการโอนเงินทั้งภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ นิคมอุตสาหกรรม
5) มีการบริหารจัดการภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ/ นิคมอุตสาหกรรม ควรมีความโปร่งใส และรวดเร็ว
6) มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานตามแนวชายแดนไทย-สหภาพพม่า เพื่อฝึกอบรมแรงงานให้เกิดความชำนาญและเชี่ยวชาญ และตอบสนองความต้องการแรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรม
7) มีการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะนักลงทุนอุตสาหกรรม ในนิคมอุตสาหกรรม
8) เร่งรัดการลงนามการประกันการลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า เพื่อสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุนไทย
พิมพ์โดย
นางสาวปาณี หุตะมาน