เศรษฐกิจพอเพียง
เ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ละเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้มั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตถ์และความเปลี่ยนแปลง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตถ์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(The Philosophy of Sufficiency Economy)
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
§ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
§ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
§ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
§ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
§ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียง ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
หลักการ
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน โดย
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
การเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก
ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา
และความรอบคอบ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: คุณธรรมพื้นฐาน
ธรรมสากล
1. การยึดถือความจริงความสัตย์
2. การให้คุณค่าองความเป็นมนุษย์
3. การให้ความรักความเมตตาแก่กัน
คุณธรรม: หลักความดี-ความงาม-ความจริงที่ใจยึดถือ
ศีลธรรม: หลักคิดละข้อปฏิบัติทางศาสนา
จริยธราม: ข้อพึงปฏิบัติ (จริยธรรมทั่วไป, จริยธรรมวิชาชีพ)
กฎธรรมชาติ:
1. กฎไตรลักษณ์ (กฎของการเปลี่ยนแปลง)
- ความไม่เที่ยง (อนิจจัง)
- ความทุกข์ (ทุกขัง)
- ความมิใช่ตัวตน (อนัตตา)
2. กฎของความเป็นเหตุปัจจัย (ปฏิจสมุปบาท)
เหตุปัจจัย ? ผลซึ่งเป็นเหตุปัจจัยขั้นต่อไป ??ผลขั้นต่อไป
3. กฎของความเป็นเหตุผล อริยสัจ 4
- ทุกข์ (ปัญหา)
- สมุทัย (เหตุปัจจัยของปัญหา)
- นิโรธ (เป้าหมายการแก้ปัญหา)
- มรรค (วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น)
4. กฎแห่งกรรม
- การกะทำทางกาย-วาจา-ใจ ย่อมให้ผลของมัน
- ผู้ปฏิบัติยอมรับผลของกาปฏิบัติ
ความสุข
1. สามิสสุข ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอกมาตอบสนองความต้องการของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงแสวงหาไม่รู้จบ หวงหึง ผูกพัน กลัวสูญหาย-สูญเสีย
2. นิรามิสสุข ความสุขภายใน เกิดจากใจที่สงบ สะอด สว่าง เกิดความพอเพียง-ไม่ดิ้นรน
ความพอ: สันโดษ
หลัก: จะทำอะไร ให้ทำด้วยอิทธิบาทธรรม คือทำอย่างเต็มที่ และเมื่อได้ผลออกมาอย่างไรจากการกระทำครั้งนั้นก็ให้เกิดความสุข-ความพอ (ถ้าไม่ได้ผลตามต้องการให้ปรับปรุงใหม่คราวหน้า)
ความสุข-ความพอ
- พอใจในสิ่งที่ได้
- พอใจในสิ่งที่มี
- พอใจในสิ่งที่เป็น
ความสุขในความพอ
- ตามควรแก่ความสามารถ
- ตามควรแก่การกระทำ
- ตามควรแก่ฐานะ
- ตามควรแก่กฎเกณฑ์สังคม (จริยธรรม) กฎเกณฑ์ศีลธรรม และกฎเกณฑ์ของกฎหมาย
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต
2. ให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
- ดำเนินชีวิตด้ายความอดทน ความเพียร
- มี สติ ปัญญา แลความรอบคอบ
3. ให้มีการนำหลักแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ปฏิบัตินั้น จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
การประยุกต์ใช้
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบ เกษตรทฤษฏีใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้ ปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินเพียงครอบครับละ 15 ไร่
2. การประยุกต์ใช้ปรัชญานี้ในด้านต่าง ๆ และระดับต่าง ๆ เช่น การศึกษา ด้านสาธารณสุข และอื่น ๆ
................................................................................................................................
ข้อมูลจากการรวมรวมของ ศ.นพ. เกษม วัฒนชัย 27 ตุลาคม 2548