สหรัฐฯ ดันข้อมติกร้าวให้ UNSC ลงดาบพม่า 
สหรัฐฯ ดันข้อมติกร้าวให้ UNSC ลงดาบพม่า |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
10 มกราคม 2550 23:09 น. |
 |
|
พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ผ้นำสูงสุดของเวียดนาม ต้อนรับนายอิบรอฮิม แกมบารี ที่เมืองเนย์ปีดอ ในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเอ็นได้พบกับนางอองซานซูจีด้วยและได้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้านในพม่าคนนี้ แต่ไม่ได้รับความสนใจ | |
 | กรุงเทพฯ- กลุ่มนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในพม่าได้ออกแซ่ซ้องแสดงการสนับสนุนร่างข้อมติของสหรัฐฯ ที่ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNSC (UN Security Council) ดำเนินการประณามรัฐบาลทหารในพม่า เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด และ เร่งปฏิรูประบอบประชาธิปไตย "เราสนับสนุนสิ่งที่สหรัฐฯ ยื่นเสนอไป" นายมินยู นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยคนหนึ่งที่เคยร่วมในเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ปี 2531 และถูกทางการทหารปราบปรามถึงขั้นนองเลือด กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันพุธ (10 ม.ค.) "นับเป็นข้อเรียกร้องที่ดี แต่การปฏิบัติตามข้อมติก็เป็นสิ่งสำคัญ" นายยูกล่าว ในวันอังคารที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยื่นเสนอร่างข้อมติต่อ UNSC แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์โดยรวมในประเทศนี้ ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพในภูมิภาค เนื้อหาของร่างข้อมติเป็นเนื้อหาที่ได้รับการแก้ไขเพียงเล็กน้อยจากร่างเดิม ที่คณะผู้แทนถาวรของสหรัฐฯ เสนอต่อ UNSC ในเดือน ธ.ค. 2549 ซึ่งเรียกร้องให้คณะปกครองทหารเปิดการสนทนาอย่างเพียงพอกับผู้นำทางการเมือง รวมทั้งผู้นำชนกลุ่มน้อยนกลุ่มต่างๆ ร่างข้อมติยังเรียกร้องให้ทางการทหารปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งนางอองซานซูจี ผู้นำสันติบาติเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ NLD (National League for Democracy) ที่ถูกกักบริเวณในบ้านพักรวมเวลากว่า 10 ปี ตลอดช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ร่างดังกล่าวยังเรียกร้องให้ทางการพม่ายุติการโจมตีต่อพลเรือนในเขตที่ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ และ ให้หาทางยุติการใช้วิธีบังคับข่มขืนใจเด็กหญิงและสตรีเป็นเครื่องมือในการปราบปรามคนเหล่านั้น นายอเลฮันโดร วูฟฟ์ (Alejandro Wolff) รักษาการเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ กล่าวว่า ได้ขอให้ UNSC พิจารณาร่างข้อมติในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตามทั้งจีนและรัสเซีย ซึ่งพันธมิตรที่ใกล้ชิดของรัฐบาลทหารพม่า และเป็นผู้สนับสนุนรายหลักในองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงความสงสัยเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นข้อมติ และอาจจะใช้อำนาจยับยั้งหรือวีโต้ ในที่ประชุม UNSC ที่มีสมาชิก 15 ประเทศ "เราอยากจะรู้ว่าความตั้งใจของจีนกับรัสเซียคืออะไรกันแน่ ปัญหาในพม่าจะไม่ได้รับการแก้ไขหากพวกเขาใช้สิทธิยับยั้ง" จอมินยู (Kyaw Min Yu) กล่าวพร้อมทั้ง เรียกร้องให้ทั้งสองประเทศนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสมานฉันท์ในพม่า ในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้ตัดสินใจบรรจุพม่าเข้าสู่วาระการพิจารณา โดยการผลักดันของเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ นายจิม โบลตัน (Jim Bolton) ที่ต้องการให้ประชาคมโลกกดดันต่อระบอบทหารพม่า ให้หันมาปฏิรูปประชาธิปไตยและปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างจริงจัง ฝ่ายทหารได้ปกครองพม่ามาตั้งแต่ปี 2505 ต่อมาในปี 2533 พรรคเอ็นแอลดีของนางซูจีชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แต่ฝ่ายทหารไม่ยอมลงจากอำนาจและมอบการบริหารประเทศสู่รัฐบาลพลเรือน ในวันจันทร์ที่ผ่าสนมานายบุนคี-มูน (Bun Ki-Moon) เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติคนใหม่ ก็ได้ออกเรียนกร้องให้ทางการพม่าปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด หลังจากมีการปล่อยนักโทษกว่า 2,800 คน ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 59 ปี แห่งเอกราช ซึ่งมีนักโทษการเมืองรวมอยู่ด้วยกว่า 40 คน.
| | |