เทศกาลสงกรานต์ปี 50 เม็ดเงินสะพัดชะลอตัว
|
|
|
เทศกาลสงกรานต์ปี 50 เม็ดเงินสะพัดชะลอตัว |
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,206 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ โดยผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
พฤติกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์
1 กิจกรรมที่นิยมทำในวันสงกรานต์ คนส่วนใหญ่จะไปทำบุญ คิดเป็นร้อยละ 29.8 รองลงมาได้แก่การไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ตามประเพณีไทย ร้อยละ 24.2 และไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ร้อยละ 16.5 ตามลำดับ
2 การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนส่วนใหญ่จะมีการวางแผนไปท่องเที่ยวร้อยละ 40.5 และไม่มีการวางแผนไปท่องเที่ยวร้อยละ 59.5 ซึ่งถ้าหากพิจารณาพฤติกรรมของทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว จะพบว่า
2.1 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการวางแผนไปท่องเที่ยว พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.6 จะไปซื้อของ ร้อยละ 38.1 จะไปทำบุญที่วัด ร้อยละ 11.1 จะพักผ่อนอยู่กลับบ้าน ร้อยละ 3.9 ไปดูหนัง ร้อยละ 1.4 ไปสวนสนุก และร้อยละ 0.9 จะทำกิจกรรมอื่นๆ
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่วางแผนจะไปท่องเที่ยว พบว่า ในในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนจะไป ท่องเที่ยวต่างประเทศร้อยละ 14.3 โดยประเทศที่คนจะเดินทางไปท่องเที่ยว ได้แก่ ฮ่องกง จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และอังกฤษ ส่วนคนที่ท่องเที่ยวในประเทศนั้นยังคงมีสูงถึงร้อยละ 85.7 และเมื่อพิจารณาถึงสถานที่ที่คนจะไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่นั้นพบว่า คนส่วนใหญ่จะเที่ยวทะเลมากที่สุด รองลงมาได้แก่ น้ำตก ภูเขา ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อแยกภูมิภาคที่คนส่วนใหญ่จะไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า คนส่วนใหญ่จะไปเที่ยวภาคตะวันออกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.6 ของผู้ตอบทั้งหมด โดยไปในจังหวัด ชลบุรี และระยอง รองลงมาได้แก่ ภาคใต้ ร้อยละ 13.4 ไปยังจังหวัดสงขลา ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช ภาคเหนือ ร้อยละ 11.0 ไปยังจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ตามลำดับ
3 . ระยะเวลา การเดินทาง เมื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงการเดินทางไปท่องเที่ยวว่าจะเริ่มออกเดินทางเมื่อใด พบว่า กลุ่มตัวอย่างจะออกเดินทางในวันที่ 12 เมษายน และเดินทางกลับในวันที่ 16 เมษายน โดยจะทำการเดินทางโดยเฉลี่ย 5-6 คน และจะทำการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ รถทัวร์ และเครื่องบิน ตามลำดับ
พฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์
1. แผนการใช้จ่ายในการท่องเที่ยว จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พบว่า
กลุ่มตัวอย่างที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศนั้นจะทำการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนจำนวน 55,857.14 บาท ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศนั้นจะแบ่งการใช้จ่ายตามกิจกรรมได้ดังนี้ คือ การไปเที่ยวทะเล ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 4,478.55 บาท น้ำตก ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 3,594.88 บาท ภูเขา ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 3,582.72 บาท ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 3,842.17 บาท และท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 3,465.00 บาท
2. แผนการใช้จ่ายนอกจากการท่องเที่ยว พบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉลี่ย 2,530.44 บาท ทำบุญ โดยเฉลี่ย 1,039.52 บาท สังสรรค์/จัดเลี้ยง โดยเฉลี่ย 2,555.09 บาท ซื้อสุรา โดยเฉลี่ย 1,215.86 บาท ซื้อสินค้าคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องเรือน ฯลฯ) โดยเฉลี่ย 3,167.27 บาท และซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องประดับ,ทอง ฯลฯ) โดยเฉลี่ย 4,306.98 บาท
3. แผนการใช้จ่ายโดยรวม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2550 เทียบกับปี 2549 พบว่า กลุ่ม
ตัวอย่างร้อยละ 23.6 มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 ใช้จ่ายลดลง และร้อยละ 67.0 ใช้จ่ายพอๆ กับปี 2549
4. แหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะนำเงินมาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ คิด
เป็นร้อยละ 54.8 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาได้แก่เงินออม เงินโบนัส/รายได้พิเศษ และอื่นๆ ตามลำดับ
5. เงินหมุนเวียนในปี 2550 จากการสำรวจและวิเคราะห์ผลของเงินหมุนเวียนในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ในปี 2550 คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนทั้งสิ้น 92,022.41 ล้านบาท โดยถ้าหากเทียบกับปี 2549 แล้วพบว่า ในปีนี้เงินสะพัดในช่วงสงกรานต์ชะลอตัวลง โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.94
ความกังวล
1. ความกังวลในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนส่วนใหญ่มีความกังวลในระดับมากกว่าร้อยละ 70
ของผู้ตอบทั้งหมด ได้แก่ เรื่องของอากาศที่ร้อนมากในปัจจุบันมากที่สุด รองลงมาได้แก่อุบัติเหตุ/ความปลอดภัยในการเดินทาง และการจราจรที่ติดขัด ตามลำดับ
2. ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ประเทศ พบว่า คนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 มีความวิตก
กังวลเกี่ยวกับ ภาวะค่าครองชีพสูง สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ราคาน้ำมันเบนซินที่ปรับสูงขึ้น สถานการณ์ทางการเมือง ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น และราคาสินค้าที่อาจขยับตัวสูงขึ้น ตามลำดับ
ของขวัญที่คนไทยอยากได้
1. ด้านเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่ต้องการให้มีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคุมราคา
สินค้า/ค่าครองชีพ แก้ปัญหาราคาน้ำมันแพง ส่งเสริมด้านการเกษตร และ สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติ
2 ด้านสังคม คนส่วนใหญ่ต้องการให้สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
สร้างความสามัคคีของคนในชาติ แก้ปัญหายาเสพติด สื่ออบายมุก ควรปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ส่งเสริมด้านการศึกษา
3. ด้านการเมือง คนส่วนใหญต้องการให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว มีความสามัคคี ไม่แบ่ง
พรรคแบ่งพวก ปราบปรามการทุจริต และลงโทษอย่างจริงจัง และมีความโปร่งใส และซื่อตรง | | | | |