กระทรวงพาณิย์ เผยมติ ครม. ผ่านหลักการร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง แล้ววันนี้ เตรียมเสนอ สนช.พิจารณา 22 ต.ค. เพื่อบังคับใช้ทันรัฐบาลยุคขิงแก่ หวังต้อนโชห่วยสมานฉันท์ร่วมยักษ์ค้าปลีกรายใหญ่ ล่าสุด ตัดคณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดทิ้งแล้ว
(16 ต.ค.) นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อส่งเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ต่อไป
"คาดว่าจะนำเสนอให้วิป สนช.พิจารณาได้ในวันจันทร์หน้า(22 ต.ค.) รัฐบาลจะพยายามผลักดันให้ร่างกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้" นายยรรยง กล่าว
อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งทั้งรายใหญ่และรายย่อยสามารถอยู่ร่วมกันได้ มีการแข่งขันที่เป็นธรรมภายใต้หลักเกณฑ์ที่เท่าเทียมกัน
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง 3 ประเภทต้องยื่นขออนุญาตในการประกอบธุรกิจจากกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1 พันตารางเมตรขึ้นไป , ผู้ประกอบการที่มียอดขายตั้งแต่ปีละ 1 พันล้านบาทขึ้นไป และผู้ประกอบการที่มีระบบเครือข่ายและมียอดขายรวมกันตั้งแต่ปีละ 1 พันล้านบาทขึ้นไป
ส่วนคณะกรรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่งนั้น จะให้มีเฉพาะคณะกรรมการกลางที่มี รมว.พาณิชย์ เป็นประธานเพียงชุดเดียว จากเดิมที่จะให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดด้วย เนื่องจากเห็นว่าอาจเกิดปัญหาความไม่เสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย
อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า หลังจากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งที่มีมาก่อนให้แจ้งการดำเนินธุรกิจต่อ รมว.พาณิชย์ ภายใน 60 วัน
ล่าสด มีรายงานข่าวแจ้งว่า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมการค้าภายใน เชิญหารือกับสมาชิก สนช.ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ในวันที่ 19 ต.ค.นี้ เพื่อทำความเข้าใจและร่วมผลักดันการออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่งให้มีผลบังคับใช้ทันในรัฐบาลชุดนี้
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งกำหนดให้ห้างค้าปลีกรายใหญ่ต้องขออนุญาตตามกฎหมาย รวมทั้งค้าปลีกรายใหญ่ไปเปิดร้านค้าย่อยด้วย เพื่อให้ห้างค้าปลีกรายใหญ่และรายย่อยอยู่ร่วมกันได้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โดยสาระสำคัญของกฎหมายได้กำหนดให้ห้างค้าปลีกรายใหญ่ เช่น แม็คโคร โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี ต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างสำหรับพื้นที่เกิน 1,000 ตารางเมตร และมียอดขายเกิน 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป โดยข้อกำหนดดังกล่าวได้รวมไปถึงสาขาย่อย อย่างเช่น โลตัสเอ็กซ์เพรส ต้องขออนุญาตด้วย โดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้ห้างค้าปลีกและค้าปลีกรายย่อยของชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างเป็นธรรม หลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ 60 วัน ส่วนห้างค้าปลีกรายใหญ่ซึ่งดำเนินการก่อสร้างอยู่ จะต้องแจ้งให้ทราบ และกฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลังกับห้างค้าปลีก ซึ่งทำการก่อสร้างไปแล้ว
สำหรับข้อกำหนดในรายละเอียด กระทรวงพาณิชย์ จะออกกฎกระทรวง หลังจากร่างกฎหมายมีผลบังคับใช้ ทั้งการกำหนดห้างค้าปลีกรายใหญ่ให้ห่างจากตัวเมือง และระยะเวลาการเปิด-ปิดบริการ โดยให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละพื้นที่ ส่วนคณะกรรมการควบคุมระดับจังหวัดจะถูกตัดออก โดยให้มีคณะกรรมการนโยบายการประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง จากส่วนกลางเท่านั้น เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการออกระเบียบ การพิจารณาใบอนุญาต เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
รัฐมนตรีพาณิชย์ เตรียมหารือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หวังทำความเข้าใจและร่วมผลักดันการออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่งให้ทันในรัฐบาลชุดนี้
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้เชิญหารือกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ เพื่อทำความเข้าใจและร่วมผลักดันการออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่งให้มีผลบังคับใช้ทันในรัฐบาลชุดนี้ และในวันที่ 22 ตุลาคมนี้ ผลักดันเข้าพิจารณาในวิปรัฐบาลเป็นภาวะเร่งด่วน เพื่อพยายามจะออกกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ให้ทันในรัฐบาลชุดนี้ และเพื่อให้ร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกค้าส่งรายย่อย (โชวห่วย) ดั้งเดิมอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งในขั้นต่อไปต้องมีการทำงานกันอย่างใกล้ชิดกับ สนช.และผู้เกี่ยวข้องให้มาก โดยในส่วนของการออกกฎกระทรวง หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ภายใน 60 วัน นั้น การจะออกกฎกระทรวงต้องมีการระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผังเมือง สาธารณสุข เป็นต้น เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกำกับดูแลค้าปลีกในทิศทางเดียวกัน เช่น พื้นที่ต้องห้ามในการเปิดสาขา ทั้งนี้ ในสาระสำคัญของกฎหมายค้าปลีกฉบับนี้ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่ง 3 ประเภทต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งจากกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย 1.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป 2.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่มียอดขายตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และ 3.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งที่ซื้อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอย่างอื่น
คณะรัฐมนตรีอนุมัติยกเลิกการดำเนินการของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง หลังจากประสบปัญหาขาดทุนถึง 400 ล้านบาท รวมทั้งไม่สามารถช่วยร้านโชวห่วยอย่างมีประสิทธิภาพได้ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติตามข้อเสนอกระทรวงพาณิชย์ ให้ยกเลิกการดำเนินการของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง ซึ่งตั้งขึ้นในช่วงรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เนื่องจากการดำเนินการประสบปัญหาขาดทุนถึง 400 ล้านบาท จึงต้องหยุดดำเนินการ เพราะอาจสร้างผลขาดทุนเพิ่มขึ้น แม้ว่ารัฐบาลต้องการเข้าไปช่วยเหลือร้านโชวห่วย แต่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงให้มีการชำระบัญชี ส่งเรื่องให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) และธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอส ครม.อนุมัติยุบบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง |