ESCC ENERGY News Today
February 2nd 2011
ประเด็นข่าว
1. ข้าวต้มลดโลกร้อน
2. TTW คาดปี 54 เห็นความชัดเจนการลงทุนในธุรกิจน้ำ-พลังงาน
3. ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: น้ำมันดิบปิดร่วง $1.42 จากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่ง
4. อุ้มดีเซลอีก65สต.ชี้14วันเงินหมด ครม.อนุมัตินำเข้าปาล์มดิบ1.2แสนตัน
5. อิยิปต์ป่วนน้ำมัน
6. เตรียมเชือดโรงไฟฟ้าเบี้ยวจ่ายไฟเข้าระบบ
7. ร้านขายแก๊สจี้รัฐชะลอขึ้นแอลพีจีทบทวนกม.ครอบครองหวั่นลูกค้าหนี-เสี่ยงเจ๊ง
8. ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป รถ NGV ทุกคันต้องติดสติ๊กเกอร์ตามที่กฎหมายกำหนด
9. ปตท. ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน ลงนามใน MOU โครงการเอทานอลบัส
10. กระทรวงพลังงานเชื่อภาคอุตสาหกรรมกระทบไม่มาก หลังปรับโครงสร้างราคา LPG มี.ค.
11. กระทรวงพลังงานเล็งยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ถือค้างนาน เปิดโอกาสรายอื่นเข้าระบบ
12. กรมโรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งเอกชนแห่ผุดโรงงานใหม่ เงินลงทุน 3 หมื่นล้านสูงสุด 53 เดือน
13. แก้เกณฑ์ใช้ LPG หวั่นฉุดเอสเอ็มอี
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานขอเชิญร่วมส่งผลงานประกวดสุดยอดรางวัลด้านพลังงานไทยระดับสากล..ลดโลกร้อน “Thailand Energy Awards 2011” ผู้ชนะเลิศรับโล่เกียรติยศจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และเป็นตัวแทนประเทศประกวดในระดับอาเซียน
ดาวน์โหลดข้อมูลและใบสมัครได้ที่ www.energy-awards.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
กองประกวด Tel: 0-2184-2728-32
Fax: 0-2184-2733-4
Mobile: 08-7822-0776
Email: energyawards@able.co.th
---------------------------------------------------------------------
สำนักงานนโยบายและแผนพลัง งาน (สนพ.) จัด "โครงการประกวดบทอาขยาน ประหยัดพลังงาน" มุ่งรณรงค์ปลุกจิตสำนักใน การประหยัดพลังงาน
ผู้สนใจสามารถส่งผลงานอาขยานเพื่อประหยัดพลังงานได้ที่ ตู้ ปณ 2 ปณฝ. คลองกุ่ม กรุงเทพฯ 10244 หรือ www.eppo.go.th/energy poem หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2946-8470
***อ่านรายละเอียดข่าวด้านล่างครับ***
ท่านสามารถติดตามข่าวพลังงานย้อนหลังได้ที่ www.escctcc.com
---------------------------------------------------------------------
“รายละเอียดข่าวพลังงาน”
1. ข้าวต้มลดโลกร้อน
บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด แนะนำผลิตภัณฑ์ "ข้าวต้มลดโลกร้อน" นวัตกรรมใหม่ของอาหารทะเลแช่แข็งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบถุง ช่วยลดการใช้พลาสติกลง 65% หรือ 63 ตันต่อปี ลดพลังงานไฟฟ้าในการผลิต 200,000 kWh ต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการขนส่งได้ครั้งละมากขึ้นอีก 50% เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบเดิม
---------------------------------------------------------------------
2. TTW คาดปี 54 เห็นความชัดเจนการลงทุนในธุรกิจน้ำ-พลังงาน
นายสมโพธิ ศรีภูมิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.น้ำประปาไทย (TTW) กล่าวว่า ในปี 54 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าจะเห็นความชัดเจนในการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับน้ำหรือพลังงาน โดยการขยายธุรกิจของบริษัทฯ จะพิจารณาธุรกิจที่เข้ากันได้และส่งเสริมธุรกิจที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มสัดส่วนธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำประปาจากปัจจุบัน 5% เป็น 35% ของรายได้ของบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นด้านธุรกิจบริหารจัดการน้ำเสีย และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 53 บริษัท ฯ มียอดจำหน่ายน้ำประปาในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร และในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 120 ล้านลูกบาศก์เมตร และจำนวน 125 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ ซึ่งรวมถึงการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอินแล้ว ทำให้บริษัทฯ มีรายได้รวมประมาณ 4,420 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 บริษัทฯ มียอดจ่ายน้ำรวมอยู่ที่ 623 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ ในปี 53 บริษัทฯ ได้ดำเนินการขยายกำลังการผลิตจาก 320,000 ลูกบาศก์เมตร /วัน เป็น 440,000 ลูกบาศก์เมตร /วัน แล้วเสร็จเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตน้ำประปาให้รองรับความต้องการใช้น้ำประปาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ให้บริการ โดยได้จ่ายน้ำประปาเพิ่มเติมให้แก่การประปาส่วนภูมิภาคตั้งแต่ปลายไตรมาส 3
---------------------------------------------------------------------
3. ภาวะตลาดน้ำมัน NYMEX: น้ำมันดิบปิดร่วง $1.42 จากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่ง
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 ก.พ.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วของสหรัฐจะพุ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์พลังงานหดตัว อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ยังคงพุ่งขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในอียิปต์
สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนมี.ค.ร่วงลง 1.42 ดอลลาร์ หรือ 1.5%ปิดที่ 90.77 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 91.80 - 90.77 ดอลลาร์
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอนส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 73 เซนต์ หรือ 0.7% ปิดที่ 101.74 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์เดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.67 เซนต์ ปิดที่ 2.7570 ดอลลาร์/แกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.93 เซนต์ ปิดที่ 2.5194 ดอลลาร์/แกลลอน
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ร่วงลงเนื่องจากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วของสหรัฐจะพุ่งขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันกลั่นจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล สต็อกน้ำมันเบนซินจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้คาดว่า อัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันจะลดลง 0.2% ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลสต็อกน้ำมันในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐที่ระบุว่า ตัวเลขการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือน ธ.ค.ร่วงลง 2.5% แตะระดับ 7.879 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ปี 2543 และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวอาจจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.
อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ยังคงเคลื่อนไหวที่เหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากเหตุการณ์ประท้วงในอียิปต์ยังคงรุนแรงจนถึงขณะนี้ โดยสำนักข่าวอัล จาซีรารายงานเมื่อวานนี้ว่า กลุ่มผู้ประท้วงนับล้านคนได้เดินขบวนไปยังทำเนียบประธานาธิบดี พร้อมกับเรียกร้องให้มีการผละงานประท้วงครั้งใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะต่อต้านการคอรัปชั่นของรัฐบาล และปัญหาความยากจนในประเทศ พร้อมเรียกร้องให้ประธาธิบดีฮอสนี มูบารัค ลงจากตำแหน่งหลังจากที่บริหารประเทศมานานถึง 30 ปี
เหตุประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศอียิปต์ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายพันคนเนื่องจากมีการปะทะกันระหว่างผู้โกรธแค้นรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกจากนี้ ยังมีรายงานเหตุปล้นสะดมและอาชญากรรมด้วย
---------------------------------------------------------------------
4. อุ้มดีเซลอีก65สต.ชี้14วันเงินหมด ครม.อนุมัตินำเข้าปาล์มดิบ1.2แสนตัน
กบง.มีมติชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและไบโอดีเซลบี-5 เพิ่มอีก 0.65 บาทต่อลิตร ยันผู้ค้าน้ำมันไม่ให้ปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเกิน 30 บาท ต่อลิตร คาดอุ้มได้ถึงแค่วันวาเลนไทน์ (14 วัน) พร้อมลดดีเซล เหลือบี-3 เกรดเดียว ครม.อนุมัตินำเข้าปาล์มดิบ 1.2 แสนตัน
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายบริหารพลังงาน (กบง.) ว่าเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนทำให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ โดยค่าการตลาดน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 0.43 บาทต่อลิตร ไบโอดีเซลบี-5 อยู่ที่ 0.35 บาทต่อลิตร ที่ประชุม กบง.จึงมีมติให้เพิ่มการชดเชยราคาน้ำมันดีเซล และไบโอดีเซลบี-5 เพิ่มอีกลิตรละ 0.65 บาท เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันไม่เกินเพดาน 30 บาทต่อลิตร ส่งผลให้เงินไหลออกเพิ่มอีกวันละ 148.89 ล้านบาท โดยเงินสะสมจากกองทุนน้ำมันวงเงิน 5 พันล้านบาทที่ใช้ชดเชยราคาน้ำมันนั้น ขณะนี้ใช้ไปแล้ว 2,990 ล้านบาท เหลืออีก 2,010 ล้านบาท ซึ่งหากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับนี้จะช่วยดูแลได้อีกเพียงแค่ 14 วันเท่านั้น
"หลังจาก กบง.ชดเชยราคาน้ำ มันทั้งดีเซล และบี-5 เพิ่มให้อีก 0.65 บาทต่อลิตรแล้ว ก็ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันของผู้ค้าน้ำมันสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1 บาทต่อลิตร ซึ่งเห็นว่าเป็นระดับที่ผู้ค้าน้ำมันยังพอรับได้ โดยราคาขายปลีกน้ำมันหน้าปั๊มจะยังไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนคาลเท็กซ์ที่ปรับขึ้นดีเซลไปก่อนหน้านี้ 30 สตางค์ต่อลิตรนั้น ก็ควรจะปรับลดลงเพราะชดเชยราคาให้แล้ว แต่ถ้าไม่ลงก็ขายไม่ได้เพราะแพงกว่าคนอื่น" นพ.วรรณรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ส่งผลให้ปัจจุบันมีการใช้เงิน เพื่อตรึงราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 2.60 บาท จากเดิมที่ชดเชยอยู่ 1.95 บาทต่อลิตร ไบโอดีเซลบี-5 ที่ระดับ 3.15 บาทต่อลิตร จากเดิมที่ชดเชยอยู่ 2.50 บาทต่อลิตร
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงเรื่องการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในที่ประชุมแก้ปัญหาปาล์มน้ำ มันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประ ธาน โดยกระทรวงพลังงานเสนอให้ชะลอการใช้ไบโอดีเซลบี-5 และลดสัดส่วนการผสมน้ำมันดีเซลปกติจาก บี-3 เหลือบี-2 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ชะลอการใช้ไบโอดีเซลบี-5 แต่ยัง ให้คงเหลือการผลิตไบโอดีเซลบี-3 (ดี เซลปกติ) เพียงเกรดเดียวต่อไป และเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ โดยองค์การคลังสินค้านำเข้าปาล์มน้ำมันเพิ่มอีก 1.2 แสนตัน ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.54 นี้
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ ได้มีมตินำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ จำนวน 1.2 แสนตันจากต่างประเทศ ภายในระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค.) โดยมอบหมายให้องค์การคลังสินค้าเป็น หน่วยงานในการนำเข้า และกระทรวง พาณิชย์ดำเนินการจัดสรรให้กับผู้บริ โภครายย่อยและผู้ผลิตในภาคอุตสาห กรรมที่มีความต้องการใช้น้ำมันปาล์ม ซึ่งขณะนี้ในส่วนของภาคอุตสาห กรรมยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ มันปาล์มซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประ เภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน และไก่แปรรูปแช่แข็ง เป็นต้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาคการผลิต
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระ ทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่ ได้สรุปว่าจะนำเข้าน้ำมันปาล์มจำนวน 1.2 แสนตันจากประเทศไหนเป็นสำคัญ ส่วนราคาในการนำเข้าจะพิจารณาต่อรองให้ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับการนำเข้าครั้งแรก 3 หมื่นตันมากที่สุด หรือตามกลไกราคาตลาด ซึ่งการนำเข้าในจำนวน 1.2 แสนตัน หรือ 130 ล้านลิตรนั้น ถือว่ามีความเหมาะสม.
---------------------------------------------------------------------
5. อิยิปต์ป่วนน้ำมัน
กลายเป็นปัญหาที่ทำให้ตลาดมีความกังวลว่าถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อรุนแรง จะกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบของตะวันออกกลางได้ เพราะอิยิปต์เป็นที่ตั้งของท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีท่อขนส่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ ซึ่งมีกำลังการขนส่งถึงวันละ 2.5 ล้านบาร์เรล และปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดโลกทั้งเวสต์เท็กซัส เบรนท์ ดูไบ และตลาดสิงคโปร์ ล้วนอยู่ในช่วง "ขาขึ้น" และคงส่งผลต่อภาระ "กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง" ที่ยังต้องเตรียมตัวเอาเงินไปอุดหนุนราคาน้ำมันเพิ่มอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) จะประชุมพิจารณาหาช่องทางอุดหนุนราคาน้ำมันเพิ่มอีก จากเดิมที่จะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) พิจารณาอนุมัติวงเงินจากกองทุนน้ำมันฯเพิ่ม เพื่อ "อุ้มดีเซล" ต่อไปอีก
นี่ขนาดสถานการณ์ในอิยิปต์เพิ่งยืดเยื้อเพียง 1 สัปดาห์ ราคาน้ำมันก็ขยับขึ้น ส่งสัญญาณร้ายให้ผู้ใช้ได้พะว้าพะวงกันแล้ว และน้ำมันขยับที กบง.ก็กุมขมับที นั่งบวกลบคูณหารกันทีว่าจะใช้อีกกี่ร้อยล้านพันล้านตรึงราคาน้ำมันไว้.....
สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้น้ำมันไม่ควรเพลิดเพลินถลุงพลังงานกันเป็นว่าเล่น เพราะเห็นว่าเงินกองทุนน้ำมันฯ 5,000 ล้านบาท เป็น "ของฟรี" นั้น มันเป็นภาพลวงตาที่รัฐบาลวาดไว้ให้เห็น เพราะเมื่อดูในอดีตที่ผ่านมาเมื่อมีการนำเงินกองทุนน้ำมันฯออกมาอุดหนุน ก็ต้องเก็บคืนในภายหลังเมื่อราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลง และจากการสอบถาม "วรรณรัตน์ ชาญนุกูล" รมว.พลังงาน ล่าสุดก็ออกอาการอ้ำๆอึ้งๆว่าวงเงินดังกล่าวฟรีหรือไม่ แล้วถ้าน้ำมันลงจะลดราคาหรือเปล่า ท่านรัฐมนตรีก็ตอบว่า "ต้องดูการบริหารจัดการของกองทุนน้ำมันฯก่อน และอาจไม่ลดราคาน้ำมัน"
พูดแบบนี้ก็ถือว่าส่งสัญญาณเป็นนัยๆว่าไม่ได้ฟรีแหงๆ เข้าข่ายของฟรีไม่มีในโลกนะพี่น้องประชาชนคนไทย!!!
---------------------------------------------------------------------
6. เตรียมเชือดโรงไฟฟ้าเบี้ยวจ่ายไฟเข้าระบบ
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน กล่าวว่า ทางคณะกรรมการฯอยู่ระหว่างพิจารณายกเลิกโครงการที่ได้ถือใบตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไว้เป็นเวลานานหลายปี แต่ขาดการติดต่อหรือไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ให้โครงการพลังงานหมุนเวียนที่มีความพร้อมได้มีสิทธิ์ขายไฟฟ้าเข้าระบบแทน
"เพื่อให้เกิดความชัดเจนและโปร่งใสสำหรับทิศทางการลงทุนพลังงานหมุนเวียน และเป็นการเร่งรัดสนับสนุนให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจจริงสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ โดยไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) ที่จะเป็นภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน คณะกรรมการฯจึงเตรียมยกเลิกโครงการที่ถือใบตอบรับซื้อไฟฟ้า หรือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไว้นานหลายปีแล้ว แต่ขาดการติดต่อและไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญา ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้รายอื่นเข้ามาดำเนินการแทน" นายณอคุณ กล่าว
สำหรับโครงการที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว แต่ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ทางคณะกรรมการฯได้มีมติห้ามเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสัญญา ได้แก่ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการคัดกรองดังกล่าวจะช่วยให้กระทรวงพลังงานสามารถบรรลุตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี พร้อมทั้งเพิ่มความชัดเจนและขีดความสามารถในการแข่งขันให้นักลงทุนโครงการพลังงานหมุนเวียนอีกด้วย
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯยังได้อนุมัติลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 7 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 26.26 เมกะวัตต์ อนุมัติตอบรับซื้อไฟฟ้า 15 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 16.048 เมกะวัตต์ โดยโครงการชีวมวลต้องมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของเชื้อเพลิง ก่อนจะเสนอตอบรับซื้อไฟฟ้าเพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้ และปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิง รวมถึงอนุมัติเพิ่มปริมาณไฟฟ้าขายเข้าระบบ 4 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 5.162 เมกะวัตต์ด้วย
---------------------------------------------------------------------
7. ร้านขายแก๊สจี้รัฐชะลอขึ้นแอลพีจีทบทวนกม.ครอบครองหวั่นลูกค้าหนี-เสี่ยงเจ๊ง
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้กรมฯได้หารือร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งต้องการให้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ภาคอุตสาหกรรมออกไปเป็นช่วงหลังเดือนกรกฎาคม เพราะต้องการหามาตรการลดผลกระทบให้ชัดเจนก่อน และให้ปรับขึ้นแบบขั้นบันไดเพื่อให้ทุกฝ่ายปรับตัว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ขณะเดียวกันกรมฯอยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์การแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2535 สำหรับโรงงานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งกำหนดการใช้แอลพีจีของโรงงานจากมากกว่าเดือนละ 500 กิโลกรัม ซึ่งจะถูกจัดเป็นประเภทอุตสาหกรรม เป็นมากกว่าเดือนละ 1,000 กิโลกรัมแทน
ส่วนนายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) กล่าวว่า ภายในกุมภาพันธ์นี้จะยื่นหนังสือถึง ธพ. เพื่อขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์การแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 2535 ซึ่งกำหนดผู้ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่าเดือนละ 500 กิโลกรัม ต้องขอใบอนุญาตครอบครอง และเปลี่ยนจากถังขนาด 48 กิโลกรัม เป็นถังขนาดใหญ่ โดยสมาคมฯจะขอให้ขยายปริมาณแอลพีจีที่กำหนดเป็นมากกว่าเดือนละ 1,000 กิโลกรัม เพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ซึ่งจะรวมถึงร้านค้าที่จำหน่ายแอลพีจีรายเล็กด้วย เพราะมีจำนวนไม่น้อยที่อาศัยรายได้จากการจำหน่ายแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
"ทางสมาคมฯกำลังรวบรวมผลกระทบที่มีต่อร้านค้าแอลพีจีทั่วประเทศกว่าหมื่นราย โดยได้ส่งหนังสือสอบถามไปแล้ว และให้ส่งกลับมาภายในวันที่ 31 มกราคมนี้ โดยยอมรับว่าถ้ามีการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม ก็อาจทำให้มีการหันไปใช้พลังงานอื่นแทน หรือไปซื้อจากรายใหญ่ที่มีศักยภาพดีกว่า ทางร้านค้าก็จะอยู่ไม่ได้และอาจต้องปิดกิจการ" นายชิษณุพงศ์ กล่าว
ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า สนพ.จะเรียกผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแก้วและกระจกมาหารือเกี่ยวกับผลกระทบจากการลอยตัวราคาแอลพีจี และหาแนวทางในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการต่อไป โดยที่ผ่านมา สนพ.ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการใช้หัวเผาไหม้ประสิทธิภาพสูงในเตาเผาให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก เพื่อลดการใช้แอลพีจีมาแล้ว โดยตั้งเป้าว่าปีนี้จะปรับปรุงเตาเผาเซรามิกให้ได้ 600 เตา ลดการใช้แอลพีจีได้ 4 ล้านกิโลกรัม
---------------------------------------------------------------------
8. ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป รถ NGV ทุกคันต้องติดสติ๊กเกอร์ตามที่กฎหมายกำหนด
ตามที่ กรมการขนส่งทางบก กรมธุรกิจพลังงาน และปตท. ได้รณรงค์ให้ผู้ใช้รถ NGV ปฏิบัติตามกฎหมาย ตั้งแต่เดือนพฤศจิการยนที่ผ่านมา โดยสถานีบริการจะเข้มงวดไม่เติมก๊าซ ให้กับรถ NGVทุกคันที่สติ๊กเกอร์หมดอายุ, มีข้อมูลไม่ชัดเจน หรือไม่ได้ติดสติ๊กเกอร์ ทั้งนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
สำหรับรถที่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำรถเข้าตรวจกับผู้ตรวจและทดสอบรถ NGV ที่ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบกกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1365 กด 5 ตลอด 24 ช.ม.
---------------------------------------------------------------------
9. ปตท. ร่วมมือกับหลายหน่วยงาน ลงนามใน MOU โครงการเอทานอลบัส
เมื่อเร็วๆนี้ นายไชยเจริญ อติแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ร่วมลงนามใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ “โครงการสาธิตการใช้รถโดยสารขนาดใหญ่ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง” กับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน-กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท เพโทรกรีน จำกัด และ บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เอทานอล ED95 ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในรถโดยสารขนาดใหญ่ ในภาคการขนส่ง
โทรศัพท์ 0-2537-2159 ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โทรสาร 0-2537-2171
---------------------------------------------------------------------
10. กระทรวงพลังงานเชื่อภาคอุตสาหกรรมกระทบไม่มาก หลังปรับโครงสร้างราคา LPG มี.ค.
นายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานได้มีการศึกษาผลกระทบต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม จากแผนการปรับโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ในภาคอุตสาหกรรม ที่จะทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันไดตั้งแต่เดือนมี.ค.นี้
โดยที่ผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปศึกษาผลกระทบ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมกลุ่มเซรามิกและเครื่องแก้ว จ.ลำปาง แล้ว จึงเชื่อว่าการทยอยปรับขึ้นจะกระทบต่อต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมไม่มากนัก
นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังเตรียมนโยบายในการช่วยเหลือภาคเอกชนไว้หลายแนวทาง ทั้งการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงและการเปลี่ยน Boiler หากผู้ประกอบการจะหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)แทน และมีความเป็นไปได้ว่าจะนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาช่วยเหลือด้วย ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปริมาณการใช้ LPG ลงได้ 30-40%
ส่วนกรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมภายหลังจากปรับราคา LPGนั้น กระทรวงพลังงานกำลังเร่งพิจารณาแนวทางอยู่
---------------------------------------------------------------------
11. กระทรวงพลังงานเล็งยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ถือค้างนาน เปิดโอกาสรายอื่นเข้าระบบ
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เตรียมยกเลิกโครงการที่ได้ถือใบตอบรับซื้อไฟฟ้าหรือสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไว้เป็นเวลานานหลายปี แต่ขาดการติดต่อหรือไม่สามารถเริ่มต้นจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
ทั้งนี้การยกเลิกดังกล่าวจะช่วยเปิดพื้นที่ให้โครงการพลังงานหมุนเวียนที่มีความพร้อมและตั้งใจจริงได้มีสิทธิขายไฟเข้าระบบ และเพื่อเร่งรัดให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจจริง สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้โดยไม่กระทบต่อค่าไฟฟ้า(Ft) ที่จะเป็นภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน
สำหรับโครงการที่ได้ลงนามในสัญญาแล้วแต่ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญานั้น ที่ประชุมมีมติห้ามเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสัญญา ได้แก่ ปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขาย, สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า, เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งกระบวนการคัดกรองดังกล่าว จะช่วยให้กระทรวงพลังงานสามารถบรรลุตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี พร้อมทั้งเพิ่มความชัดเจนและขีดความสามารถในการแข่งขันให้นักลงทุนโครงการพลังงานหมุนเวียนด้วย
นายณอคุณ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังอนุมัติลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 7 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 26.26 เมกะวัตต์ อนุมัติตอบรับซื้อไฟฟ้า 15 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 16.048 เมกะวัตต์ โดยโครงการชีวมวลต้องมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของเชื้อเพลิงก่อนเสนอตอบรับซื้อไฟฟ้าเพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้ และปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิง และอนุมัติเพิ่มปริมาณไฟฟ้าขายเข้าระบบ 4 โครงการ รวมปริมาณไฟฟ้า 5.162 เมกะวัตต์
---------------------------------------------------------------------
12. กรมโรงงานอุตสาหกรรมฟุ้งเอกชนแห่ผุดโรงงานใหม่ เงินลงทุน 3 หมื่นล้านสูงสุด 53 เดือน
กรมโรงงานดี๊ด๊า ประเดิม "ปีกระต่าย" หรู เอกชนแห่เปิดโรงงานใหม่อื้อ มกราคม เดือนเดียว 205 โรงงาน เม็ดเงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท ทุบสถิติในรอบ 53 เดือน "โคราช" แชมป์ นักลงทุนลุยปักธงพลังงานทดแทน
รายงานข่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในเดือน มกราคม 2554 มีโรงงาน ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 205 ราย วงเงินลงทุน 30,500 ล้านบาท เป็นวงเงินสูงสุดในรอบ 53 เดือน และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 21,000 ล้านบาท เนื่องจากช่วงปลายปี 53 ไทยประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง และการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องชะลอแผนการลงทุนในปีนี้แทน โดยเฉพาะทุนข้ามชาติสนใจย้ายฐานการผลิตเข้ามาอยู่ไทย ประกอบกับเศรษฐกิจของโลกขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการของสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้จังหวัดที่มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนมูลค่าสูงสุด 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา 23,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นพื้นที่ของนายสุวัจน์ ลิปตภัลลภ ผู้ก่อตั้งพรรครวมชาติพัฒนา ซึ่งได้โควตาตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนพลังงานทดแทนพลังงานลม, ชลบุรี 2,000 ล้านบาท, ขอนแก่น 1,370 ล้านบาท, มุกดาหาร 1,020 ล้านบาท และจังหวัดปทุมธานี 500 ล้านบาท
สำหรับบริษัทที่ลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาทในเดือน ม.ค. เช่น บริษัท เฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด (โรงงานที่ 16) ผู้ผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม เงินทุน 15,043 ล้านบาท, บริษัท เค.อาร์.ทู จำกัด (โรงงานที่ 1) ผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม เงินทุน 3,202 ล้านบาท, บริษัท ขอนแก่นกรีนพาวเวอร์ จำกัดผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล ขนาดกำลังการผลิต 9.6 เมกะวัตต์ เงินทุน 1,120 ล้านบาท, บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศ เงินทุน 1,839 ล้านบาท,บริษัท เอ็นเทคโพลิเมอร์ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติและส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา เงินทุน 1,020 ล้านบาท
"แม้ในปี 54 จะมีปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง เช่น การชุมนุมของคนเสื้อเหลือง, เสื้อแดง และ กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ รวมถึงนายกรัฐมนตรีระบุว่าอาจมีการประกาศยุบสภากลางเดือนปีนี้แต่ก็ไม่ทำให้นักลงทุนต้องเลื่อนการลงทุนมากนัก เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง และนโยบายด้านการลงทุนของรัฐบาลแต่ละชุดก็เปลี่ยนแปลงมากนักทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนระยะยาวได้ ที่สำคัญปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มผ่อนคลายแล้ว" แหล่งข่าว กล่าว
สำหรับการลงทุนในปี 53 มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 3,748 แห่ง วงเงิน วงเงินลงทุน 172,683 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยและคู่ค้าฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าของผู้บริโภคขยายตัวต่อเนื่อง จนบริษัทรายใหญ่ต้องขยายกำลังการผลิตและตั้งโรงงานใหม่จำนวนมาก โดยโรงงานที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทมีไม่ต่ำกว่า 18 แห่ง
สำหรับกลุ่มทุนรายใหญ่ที่ได้รับอนุญาติ เช่น บริษัท เจเทคโตะ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ วงเงิน 9,200 ล้านบาท, บริษัท เขาค้อ วินด์ พาวเวอร์ จำกัด ผลิตพลังงานไฟฟ้า กำลังการผลิต 60 เมกะวัตต์ มูลค่า 4,200 ล้านบาท, บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัดผลิตขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เงินทุน 3,500 ล้านบาท, บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลอุตรดิตถ์ จำกัด ผลิตน้ำตาลทราย เงินทุน 2,871 ล้านบาท
บริษัท ทีพีไอ ออลซีซั่นส์ จำกัด ผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติก เงินทุน 2,700 ล้านบาท, บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ จำกัดบรรจุหีบห่อ จัดเก็บ และขนส่งผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เงินทุน 2,300 ล้านบาท, บริษัท สยามเซมเพอร์เมด จำกัดผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ เงินทุน 2,400 ล้านบาทบริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัดผลิตจำหน่ายไฟฟ้า ขนาดกำลังการผลิต 16.0 เมกะวัตต์ เงินทุน 2,245 ล้านบาท บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัดผลิตเครื่องดื่มจากผักหรือพืช ผลไม้ และบรรจุในภาชนะที่ผนึกและอากาศเข้าไม่ได้ เงินทุน 1,500 ล้านบาท เป็นต้น
ทั้งนี้พบว่าในช่วงปี 53 อุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นมากคือ อุตสาหกรรมยานยนต์จนผู้ผลิตชิ้นส่วนขอตั้งโรงงานแห่งใหม่จำนวนมากรองรับการขยายตัวของยานยนต์ที่สามารถผลิตได้ถึง 1.65-1.68 ล้านคัน และจะเพิ่มเป็น 1.8 ล้านคันในปี 54 รองลงมาจะเป็นกลุ่มพลังงานทดแทนและพลังงานไฟฟ้าที่ความต้องการใช้สูงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และที่สำคัญราคาพลังงานมีแนวโน้มปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง
---------------------------------------------------------------------
13. แก้เกณฑ์ใช้ LPG หวั่นฉุดเอสเอ็มอี
สมาคมผู้ค้าแอลพีจีเตรียมยื่นหนังสือกรมธุรกิจพลังงาน แก้หลักเกณฑ์แยก ประเภทผู้ใช้แอลพีจีภาคอุตสาห กรรมใหม่เป็น 1,000 กิโลกรัมต่อเดือน หวั่นหลังลอยตัวราคาเอสเอ็มอีกระทบ ยอดตั้งโรงงานใหม่เดือน ม.ค.มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท สูงสุดรอบ 53 เดือน ชี้ทุนไหลเข้าโคราชมากสุด
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.นี้ จะยื่นหนังสือไปยังกรมธุรกิจพลัง งาน (ธพ.) ให้ทบทวนหลักเกณฑ์ ในการแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ โดยจะ ขอขยายปริมาณแอลพีจีที่กำ หนดเป็น 1,000 กิโลกรัมต่อเดือน จากเดิมกำหนดที่ 500 กิโลกรัมต่อเดือน จะต้องขอใบอนุญาตในการครอบครองและเปลี่ยนจากถังขนาด 48 กิโลกรัมเป็นถังขนาดใหญ่แทน เพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีและร้านค้าที่ขายแอลพีจีรายเล็ก หลังมีการลอยตัวราคาแอลพีจีตามนโยบายรัฐ
"กำลังรวบรวมผลกระ ทบต่อร้านค้าแอลพีจีทั่วประ เทศที่มีกว่าหมื่นราย โดยส่งหนังสือสอบถามไปและให้ส่งกลับภายใน 31 ม.ค.นี้ ยอมรับว่าหากมีการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมก็อาจทำให้มีการหันไปใช้พลังงานอื่นแทนหรือไปซื้อจากรายใหญ่ที่มีศักย ภาพดีกว่า ซึ่งจะกระทบทั้งผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรมรายเล็กและ ร้านค้าแอลพีจีด้วย" นายชิษณุ พงศ์กล่าว
รายงานข่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค.54 มีโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจ การจากกรมโรงงานอุตสาห กรรม 205 ราย วงเงินลงทุน 30,500 ล้านบาท เป็นวงเงินสูงสุดในรอบ 53 เดือน และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 21,000 ล้านบาท เนื่องจากช่วงปลายปี 53 ไทยประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง และการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องชะลอแผนการลงทุนในปีนี้แทน