ข่าวพลังงานประจำวันที่ 19 ธันวาคม 2554
ESCC ENERGY News Today December 19th 2011
ประเด็นข่าว
1. กองทุนน้ำมันถังแตกติดลบ 1.2 หมื่นล้านจ่อกู้ 2 แบงก์6พันล้านโปะ
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับทุน20ล้านวิจัยสบู่ดำพันธุ์ใหม่
3. โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดลำพูน เริ่มเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วด้วยวิธีการเช่าที่ดิน การร่วมลงทุน และการส่งเสริม 4. PTT จัดสรร 150 ล้านบาท สนับสนุนวิจัยสาหร่ายพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
5. กระทรวงพลังงาน ประเดิมก้าวแรกการมีส่วนร่วมภาคประชาชน จับมือประชาสัมพันธ์ลงสื่อท้องถิ่น เน้นสร้างความเข้าใจด้านพลังงานช่วยชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน
6. พิชัยยันเดินหน้าขึ้นก๊าซ-น้ำมัน ปูเปิดบัตรเติม'เอ็นพีจี'
-------------------------------------------------------------------
***อ่านรายละเอียดข่าวด้านล่างครับ***
ท่านสามารถติดตามข่าวพลังงานย้อนหลังได้ที่ www.escctcc.com
---------------------------------------------------------------------
“รายละเอียดข่าวพลังงาน”
1. กองทุนน้ำมันถังแตกติดลบ 1.2 หมื่นล้านจ่อกู้ 2 แบงก์6พันล้านโปะ
ผอ.สถาบัน บริหารกองทุนพลังงาน สารภาพ ฐานะกองทุนน้ำมันฯ ติบลบอย่างหนัก เตรียมกู้เงินมาอุ้ม ยันไม่ถึง1หมื่นล้าน เพราะได้อานิสงส์ รัฐบาลเตรียม ปรับโครงสร้างพลังงานกลางเดือนหน้า ทางด้าน ผู้ประกอบการรถโดยสาร นัดประชุม 19 ธันวาคม ค้านปรับขึ้น "เอ็นจีวี"
นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(สบพ.)เปิดเผยว่า ในเดือนมกราคม 2555 นี้ สถาบันจะเริ่มขอกู้เงินเพื่อดูแล ราคา พลังงานเชื้อเพลิง เพราะ ณ เดือนธันวาคม 2554 นี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะติดลบหนักสุดประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยภาระส่วนใหญ่จะมาจากการจ่าย ชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศ เดือนละ 2,000-3,000 ล้านบาท โดยไทยมีการนำเข้าแอลพีจี เฉลี่ย 130,000 ตันต่อเดือน ทำให้เป็นภาระสะสมมานาน ในขณะที่การจัดเก็บรายได้เข้ากองทุนน้ำมันฯลดลงเหลือเพียงเดือนละ 385 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น
ในเบื้องต้นคาดว่ามีความจำเป็นจะต้องกู้ประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท และไม่เต็มวงเงินตามที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เคยเห็นชอบ ให้กู้เงินไม่เกินวงเงิน 10,000 ล้านบาท เนื่องจากในวันที่ 16 มกราคม 2555 รัฐบาลมีการปรับโครงสร้าง ราคาพลังงาน โดยทยอยปรับขึ้นราคาพลังงานต่างๆ ทั้งก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) การเก็บเงิน เข้ากองทุนน้ำมันฯสำหรับก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคปิโตรเคมี การขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง เป็นต้น ก็จะทำให้เริ่มมีเงินไหลเข้ากองทุนบางส่วน
โดยจะมีการกู้มาจากสถาบันการเงินของรัฐ 2 แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารออมสิน ขณะที่ การใช้เงินจะทยอยเบิกจ่ายเงินมาใช้งวดแรกประมาณ 2,000 ล้านบาท และในเดือนธันวาคมปีหน้า คาดว่ากองทุนจะมีฐานะกลับมาเป็นบวกได้ประมาณ 3,877 ล้านบาท
"การขอกู้เพียง 5,000-6,000 ล้านบาท นั้นได้พิจารณาจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ใน เร็วๆ นี้จะทำให้มีเงินบางส่วนไหลเข้ากองทุน คาดว่า ภายในสิ้นปี 2555 กองทุนก็จะใช้หนี้หมด และเริ่ม มีฐานะเป็นบวกได้ ขณะที่เงินกู้ดังกล่าวจะนำมาใช้ดูแล ราคาพลังงานทุกชนิด แต่ที่หนักคือ การชดเชยการ นำเข้าก๊าซแอลพีจีจากต่างประเทศ ซึ่งมีภาระกว่า 2,000-3,000 ล้านบาทต่อเดือน" นายศิวะนันท์ กล่าว
ทั้งนี้หลังจากรัฐบาลเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานแล้วจะทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลับไปทำหน้าที่หลักในการป้องกันภาวะขาดแคลน น้ำมัน และลดบทบาทการใช้เป็นเครื่องมือตรึงราคาพลังงานเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสร้างภาระให้กับกองทุน น้ำมันฯและเป็นเรื่องไม่เหมาะสมนัก
"จากนี้ไปกองทุนน้ำมันฯ ควรจะทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาน้ำมันขาดแคลน หรือดูแลกรณีฉุกเฉินระยะสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น ไม่ใช่นำเงินไปอุดหนุน ราคา เชื้อเพลิงเฉพาะประเภท เช่น แอลพีจี ซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์เท่าไหร่นัก เชื่อว่าหลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงานครั้งนี้จะทำให้บทบาทของ กองทุนน้ำมันฯ ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น" นายศิวะนันท์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในอนาคต กองทุนน้ำมันฯ ควรจะเข้าไปร่วมในการดำเนินการจัดตั้งคลังสำรองน้ำมัน ทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนการสร้างท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมโยงไปยังภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะสิ่งที่ตรงกับหน้าที่ เพราะไทยมีบทเรียนจากช่วงที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ทำให้การขนส่งน้ำมันทางรถยนต์มีปัญหา หากสามารถสร้างคลังสำรองน้ำมันที่เป็นของภาครัฐ หรือการวางท่อขนส่งน้ำมันไว้รองรับแล้ว จะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำมันได้
มี รายงานจาก กระทรวงคมนาคม แจ้งว่า ชมรมรถร่วม ขสมก. และผู้ประกอบการรถร่วม บขส. รถร่วม ขสมก. และรถบรรทุกบางส่วน เตรียมคัดค้าน การขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ตามนโยบายปรับโครงสร้างพลังงาน ในเดือนมกราคมปีหน้า โดยผู้ประกอบการจะ นัดหารือกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ ที่ โรงแรมรัตนโกสินทร์
ด้าน นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่ รัฐบาลจะประกาศยกเลิกการใช้น้ำมัน เบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 นั้น ปตท.คาดว่า จะดำเนินการได้ตามกำหนด หลังจากนั้นจะมีการเปลี่ยนหัวจ่ายไปให้บริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และ 95 แทน และหัวจ่ายบางส่วนจะเปลี่ยนไปให้บริการน้ำมันอี 20 แทน
ส่วนแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2555 ปตท. จะใช้งบลงทุนประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ในการขยายสถานีบริการน้ำมัน(ปั๊ม)รวมทั้งรุกธุรกิจค้าปลีก และร้านอาหารมากขึ้น และงบดังกล่าวจะใช้ลงทุนในต่างประเทศ กว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อเปิดปั๊มปตท. ใน 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์ โดย ภายใน 3 ปี แต่ละประเทศจะมีปั๊มขนาดใหญ่ในรูปแบบ ไลฟ์ สเตชั่น 5-10 สาขา และปั๊มมาตรฐาน 40-50 สาขา ส่วนในประเทศจะไม่เน้นเพิ่มจำนวนปั๊มน้ำมันมากนัก แต่จะมุ่งปรับคุณภาพมาตรฐานน้ำมัน และบริการให้มากขึ้น
---------------------------------------------------------------------
2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รับทุน20ล้านวิจัยสบู่ดำพันธุ์ใหม่
มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มอบทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อวิจัยและพัฒนาสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่สำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานมูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มอบทุน NSTDA Chair Professor ประจำปี 2554 จำนวน 20 ล้านบาท ให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์" โดยมี ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. และ รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการ ทุน NSTDA Chair Professor จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้าง "ศาสตราจารย์ผู้นำกลุ่ม" ที่เป็นผู้ทำงานภาควิชาการ พัฒนา และเชื่อมโยงกับภาคการผลิตและบริการ สนับสนุนและผลักดันให้นักวิจัยที่มีความสามารถสูง สามารถทำงานวิจัย และผลิตผลงานที่มีศักยภาพเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยต่อไป โดยในปีนี้คณะกรรมการได้พิจาร ณามอบทุนให้แก่ ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ และคณะทำงานวิจัยจาก ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเสนอโครงการวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำสำหรับเป็นพลังงานและอาหารสัตว์" เนื่องจากเป็นการพัฒนาสายพันธุ์สบู่ดำ ในรูปแบบที่ไม่มีทีมวิจัยที่ใดในโลกริเริ่มทำมาก่อน นั่นก็คือสร้างสบู่ดำสายพันธุ์ใหม่ให้สามารถใช้ข้อเด่นของพืชชนิด อื่นๆ ที่นำมาทดลองร่วมได้ อาทิ ละหุ่ง ซึ่งมีผลออกเป็นช่อ เก็บเกี่ยวง่าย, สบู่แดง ซึ่งทนฝน หรือหนุมานนั่งแท่น ซึ่งให้ปริมาณน้ำมันมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับขนาดของผล
"สบู่ดำเหมาะที่จะนำมาเป็นพืชพลังงาน เพราะคนบริโภคไม่ได้ ราคาจึงยังถูกและไม่ผันผวนตามสภาวะขาดแคลนอาหารเหมือนพืชพลังงานประเภทอื่นๆ ดังนั้นหากสามารถวิจัยปรับปรุงพันธุ์จนได้สบู่ดำที่เหมาะกับการเป็นพืชพลังงานอย่างแท้จริง คือ เก็บเกี่ยวง่าย ให้ผลผลิตสูง และผลออกพร้อมกัน ประเทศไทยและโลกก็จะได้สบู่ดำสายพันธุ์ใหม่เป็นพลังงานทดแทนที่มีคุณค่า มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจในอนาคต" ศ.ดร.พีระศักดิ์ ผู้ได้รับทุนในปีนี้กล่าว
เนื่องจาก ศ.ดร.พีระศักดิ์เป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับงานวิจัย และสร้างผลงานด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืชมากที่สุดผู้หนึ่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับปรุงพันธุ์พืชตระกูลถั่วให้มีความต้านทานต่อโรคพืชและแมลง ผลงานวิจัยของท่านนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อวงวิชาการด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช และได้รับยกย่องให้เป็น "นักปรับปรุงพันธุ์ดีเด่น" จากสมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย คณะกรรมการมอบทุน NSTDA Chair Professor จึงมีความเชื่อมั่นว่างานวิจัยนี้จะทำให้วงการวิจัยพืชพลังงานของโลกก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง
เช่นเดียวกับงานวิจัยของผู้ได้รับ ทุน NSTDA Chair Professor ในปีแรก ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล และคณะผู้วิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง "การออกแบบและผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม" ที่ปัจจุบันพบว่า โครงการดังกล่าวซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานในปีที่ 3 ประสบผลสำเร็จในการผลิตผลงานวิจัยที่จะเป็นพื้นฐานต่อการประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ทั้งยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมการนำเสนอผลงานการวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติแล้วกว่า 40 ครั้ง.
------------------------------------------------------------------
3. โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดลำพูน เริ่มเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วด้วยวิธีการเช่าที่ดิน การร่วมลงทุน และการส่งเสริม
โครงการ ผลิตพลังงานไฟฟ้า จังหวัดลำพูน เริ่มเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยมีนายพรศักดิ์ เชื้อเมืองพาน เป็นตัวแทนในนามของ บริษัท สหโครเจนกรีน จำกัด โครงการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 จากแนวคิดที่ว่า การผลิตพลังงานที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสามารถรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน บริษัท สหโคเจนกรีน จำกัด จึงได้ทำการศึกษาการผลิตพลังงานหมุนเวียนประเภท ชีวมวล ด้วยการนำเศษเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น เศษไม้ ซังข้าวโพด แกลบมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ต้องการสรรหาพลังงานหมุนเวียนมาทดแทนพลังงานที่สิ้นเปลืองต่างๆ ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดโรงผลิตพลังงานชีวมวล ภายในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน ด้วยเทคโนโลยีการผลิตพลังงานความร้อนร่วมที่ทันสมัย และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า 9.6 เมกะวัตต์ ส่งขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และได้พลังงานไอน้ำ 25 ตันต่อชั่วโมง ส่งขายให้แก่ภาคเอกชนที่ทำการอบแห้งผลไม้และใช้อบไม้ไผ่ ลำพูน การผลิตจะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประมาณ 97.976 ตันต่อปี ซึ่งได้จากการรับซื้อเศษเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง และได้จากการปลูกไม้โตเร็วของบริษัทเพื่อความมั่นใจว่าโรงงานไฟฟ้าชีวมวลจะต้องมีวัตถุดิบพอเพียงสำหรับการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ จึงได้สร้างแหล่งเชื้อเพลิงสำรอง ด้วยการส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วด้วยวิธีการเช่าที่ดิน การร่วมลงทุน และการส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็ว ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรหรือชุมชน และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ยังได้สร้างแหล่งเรียนรู้การเพาะพันธุ์ไม้ที่มีคุณภาพ การผลิตกล้าไม้โตเร็วศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าและพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้โตเร็ว สร้างศูนย์เรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐให้เป็นสถานที่เรียนรู่เกี่ยวกับพลังงานชีวมวลที่ประชาชนผู้ที่สนใจ เข้าศึกษาดูงานได้ตลอดเวลา การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดการคุณภาพอากาศติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมคุณภาพแบบไฟฟ้าสถิตย์ที่มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นสูงสุด ทำให้อากาศที่ปล่อยออกจากปล่องที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การควบคุมผลกระทบด้านเสียง
มีการจัดการวางตำแหน่งอุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมถึงการปลูกต้นไม้ทรงสูงพุ่มหนา เพื่อกรองเสียงและเป็นแนวกันลมทำให้ควบคุมระดับเสียงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ด้านการจัดการน้ำ ใช้น้ำดิบจากแหล่งน้ำภายในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน เท่านั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ส่วนน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตก็หมุนเวียนกลับนำมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต และนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ภายในโรงไฟฟ้าด้วย การจัดการด้านเถ้าชีวมวลเถ้าชีวมวล จากการเผาไหม้เป็นผลพลอยได้จากการผลิตพลังงานนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ย เพื่อใช้กับแปลงปลูกไม้โตเร็ว และแจกจ่ายให้กับชุมชนผลประโยชน์สู่ท้องถิ่น เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจากการขายเศษเหลือใช้ทางการเกษตรให้กับโรงไฟฟ้า ช่วยลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผากำจัดเศษเหลือของพืช เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสำหรับนัก เรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เป็นการเสริมสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ชุมชน ในกิจกรรมต่างๆ ของกระบวนการผลิตเพื่อจัดหาไม้โตเร็ว หรือวัสดุสนับสนุนโรงงานไฟฟ้า
-----------------------------------------------------------------
4. PTT จัดสรร 150 ล้านบาท สนับสนุนวิจัยสาหร่ายพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าทีบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดสรรงบลงทุน 150 ล้านบาท ในการสนับสนุนโครงการวิจัยสาหร่ายพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ โดยที่ผ่านมาบริษัทได้มีการใช้งบไปแล้ว 50 ล้านบาท ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพจากสาหร่าย สามารถผลิตเป็นปิโตเลียม และอาหารที่สาหร่ายสังเคราะห์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่ได้จากการผลิตในอุตสาหกรรมอยู่แล้ว
ประเทสไทย มีพื้นที่เหมาะสมในการเลี้ยงสาหร่ายได้ทั้งปี ขณะที่ปตท. มีพื้นที่ในภาคตะวันตกของออสเตเรีย ที่ได้สัมปทานอยู่แล้วเหมาะแก่การเลื้ยงสาหร่าย สำหรับการผลิตเชิงพาณิย์ในปี 60
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ร่วมกับสถาบันปิโตรเลียมไทย จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงวิชาการ สาหร่ายนานาชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 หรือ 2nd Asia-Oceania Algae Innovation Summit (AOAIS 2012) ในระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2555
นายไพรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การสรรหาแหล่งพลังงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการร่วมกันดำเนินการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก เป็นงานที่ท้าทายมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในสถานการณ์ที่โลกและประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตพลังงานและโลกร้อน ในการนี้ ปตท. ได้เล็งเห็นว่า แนวทางสำคัญอันหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และเอื้อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย คือ การสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ
ปตท. จึงได้ให้ความสำคัญพร้อมทั้งเร่งรัดและทุ่มงบประมาณในการคิดค้นวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนออกมาให้บรรลุประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและสังคมไทยอย่างรวดเร็ว โดยการเป็นผู้นำในการผลักดันการออกผลิตภัณฑ์แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) และไบโอดีเซล (Biodiesel) และได้พัฒนาสูตรให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศ เป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตรถยนต์และผู้บริโภค ส่งเสริมและผลักดันการใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์ หรือ NGV รวมทั้งพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการผลิต หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และการผลิตก๊าซชีวภาพอัด (Compressed Biogas) เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ทดแทน NGV ตลอดจนเร่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานทุกๆด้าน เพื่อให้สามารถตอบสนองความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างสมดุล ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
------------------------------------------------------------------
5. กระทรวงพลังงาน ประเดิมก้าวแรกการมีส่วนร่วมภาคประชาชน จับมือประชาสัมพันธ์ลงสื่อท้องถิ่น เน้นสร้างความเข้าใจด้านพลังงานช่วยชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน
วันที่ 15 ธันวาคม 2554 นายพิชัย นริพทะพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีแถลงยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภายใต้โครงการสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านพลังงานร่วมกับสื่อมวลชนระหว่างกระทรวงพลังงาน กับกรมประชาสัมพันธ์ ว่า โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานร่วมกับสื่อมวลชนผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการชี้แจงนโยบายของกระทรวงพลังงานให้กับประชาชนได้รับทราบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานและตระหนักถึงวิกฤตปัญหาของพลังงานที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แผนการพัฒนาพลังงานด้านต่างๆ ในประเทศเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายโครงการต่างๆ ด้านพลังงานให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้สูงสุด อันจะส่งผลต่อการพัฒนาพลังงานในประเทศ และเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืน
และในปี 2555 นี้ “กระทรวงพลังงานได้จัดตั้งหน่วยงานภายในเพื่อให้มีความชัดเจน มากขึ้น ได้แก่ สำนักประสานการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (สปร.) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นระบบ และมีแนวทางการปฏิบัติร่วมมือกับหน่วยงานของกระทรวงพลังงาน รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยจะมีการดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการสื่อสาร ด้านพลังงานร่วมกับสื่อมวลชนท้องถิ่น ที่จะเน้นขยายการสร้างการมีส่วนร่วมใน 36 จังหวัด 490 อำเภอ แบ่งเป็น การจัดให้การสนับสนุน 1 อำเภอ 1 สถานี รวม 490 สถานี และจะทำงานร่วมกับสมาคมวิทยุชุมชน และสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นกว่า 600 คน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานไปยังพื้นที่ส่วนต่างๆ ของประเทศไทย อันจะไปสู่ผลสัมฤทธิ์และบรรลุเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” นายพิชัยกล่าว
ด้าน นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า ในปี 2553 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกรมประชาสัมพันธ์ ในการดำเนินโครงการวิทยุท้องถิ่นในพื้นที่ครอบคลุม 76 จังหวัด 77 สถานี ประกอบด้วย การเผยแพร่ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) จำนวน 61 สถานี, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศ ไทย เพื่อการศึกษา (สวศ.) จำนวน 1 สถานี เครือข่ายสถานีวิทยุชุมชน จำนวน 15 สถานี ใน 15 จังหวัด เป็นการทำงานด้านการสื่อสารพลังงานควบคู่กันไประหว่างอาสาสมัครพลังงาน (อส.พน.), สำนักพลังงานจังหวัด, สำนักวิชาการพลังงานภาค 12 แห่ง (สวภ.) และนักจัดรายการวิทยุ (สวท.) กว่า 300 คน ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานร่วมกับสื่อวิทยุท้องถิ่น ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญของกระทรวงพลังงานในการสื่อสารข้อมูลด้านพลังงานที่ถูกต้องไปสู่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจในการพัฒนาภาคพลังงาน อันจะนำไปสู่การประเทศอย่างยั่งยืน เนื่องจากพลังงานถือเป็นปัจจัยสำคัญที่รองรับการพัฒนาประเทศ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
------------------------------------------------------------------
6. พิชัยยันเดินหน้าขึ้นก๊าซ-น้ำมัน ปูเปิดบัตรเติม'เอ็นพีจี'
ชาว บ้านเตรียมอ่วม "พิชัย" ยันเดินหน้าขึ้นราคาพลังงาน อ้างทำตามนโยบาย กพช.ยันไม่ยึดการตรึงราคา ด้านบัตรเครดิตพลังงานเปิดแล้ว "ยิ่งลักษณ์" เป็นประธาน พูดผิดเหมือนเดิม เผยแท็กซี่รวมบางตา ปตท.ส่งสัญญาณเตรียมปรับขึ้นราคาน้ำมัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการ "บัตรเครดิตพลังงานเอ็นจีวี" เพื่อ ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงให้แก่ผู้ขับรถแท็กซี่ในช่วงที่มีการปรับราคาเอ็นจีวีขึ้นตา มนโย บายลดภาระค่าครองชีพของรัฐ บาล แต่ยังมีผู้ประกอบการแท็ก ซี่มาร่วมลงทะเบียนบางตา นอก จากนี้ นายวิฑูรย์ แก้วพานิช ประ ธานเครือข่ายแท็กซี่ในประเทศมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ชะ ลอการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวี แต่หากมีการขยับขึ้นราคาจริงก็จะ ต้องนำเรื่องการปรับขึ้นค่าโดย สารไปประกอบการพิจารณาด้วย รวมทั้งต้องเพิ่มจุดให้บริการเอ็น จีวีให้เพียงพอ ซึ่งนายกฯ ได้รับ หนังสือพร้อมทั้งมอบให้กระทรวง พลังงานไปหามาตรการช่วยเหลือ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มว่า ระหว่างเป็นประธานเปิดงานเปิด ตัวโครงการ นางสาวยิ่งลักษณ์ได้ขึ้นกล่าวบนเวที โดยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่นางสาวยิ่งลักษณ์กล่าวถึงสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) แต่พอพูดไปได้สักพัก นางสาวยิ่งลักษณ์ก็พูดชื่อตัวย่อของก๊าซทั้ง 2 ประเภทผิด โดยพูดว่า "ก๊าซเอ็นพีจี" ซึ่งเป็นการนำเอาตัวย่อชื่อก๊าซทั้ง 2 ประเภทมารวมกัน ทำเอาผู้ร่วมงานงงว่าจะมีการนำก๊าซประเภทใหม่เข้ามาใช้ในประเทศด้วยหรือ
นาย พิชัย นริพทะพันธุ์ รมว. พลังงาน กล่าวยืนยันว่า การปรับ ขึ้นราคาพลังงานนั้น ยังยึดตาม มติคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ (กพช.) คือปรับขึ้นแอลพีจีภาคขนส่ง 75 สตางค์ต่อ กก. เป็นเวลา 12 เดือน รวม 9 บาทต่อ กก. ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค.55 รวมถึงการทยอยเรียกเก็บเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในส่วนของน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล โดยเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะเก็บคืน 1 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซล 60 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งการเรียกเก็บจะเน้นดูจังหวะราคาโลกในช่วงขาลงเป็นสำคัญ
"โดยส่วนตัวไม่ยึดกรอบว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลจะต้องอยู่ที่ระดับ 30 บาทต่อลิตรตลอด หากราคาโลกปรับขึ้นก็คงต้องมีการพิจารณาใหม่ เพราะหากจะให้อุดหนุนตลอดคงไม่ไหว จะทำให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีการตรึงราคาแอลพีจีและเอ็นจีวีที่ขาดทุนสะสมมานาน" นายพิ ชัยกล่าว
นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.ขาดทุนสะ สมจากการตรึงราคาเอ็นจีวีแล้ว กว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งราคาเอ็นจีวีปัจจุบันควรจะอยู่ที่ระดับ 15-16 บาทต่อกิโลกรัม การที่ ปตท.ขยับราคาขึ้นมาที่ระดับ 14 บาทต่อกิโลกรัม จึงช่วยลดภาระขาดทุนสะสมให้น้อยลง ทำให้ ปตท.มีเงินพอที่จะนำไปขยายการ ลงทุนเพิ่ม
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรม การผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำ มัน ปตท. กล่าวว่า ปตท.เตรียมสำรองน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 20-30% จากเดิมที่จำหน่ายอยู่วันละ 20 ล้านลิตร ในช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.54-3 ม.ค.55 อย่างไรก็ตาม ขณะ นี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มปรับ ตัวสูงขึ้น จนทำให้ค่าการตลาดน้ำมันเบนซินและ แก๊สโซฮอล์อยู่ ในระดับต่ำแค่ 90 สตางค์ต่อลิตร ส่วนดีเซลอยู่ที่ 1.40 บาทต่อลิตร จึงต้องขอรอดูราคาน้ำ มันในตลาดโลกอีก 1-2 วัน ก่อน พิจารณาปรับเปลี่ยนราคาขายปลีก น้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเบนซิน.
------------------------------------------------------------------
ESCC Energy Call Center
โทรศัพท์ 0-2622-1860-76 ต่อ 312,521 และ 535
Fax: 0-2622-2375
Email: escc@thaichamber.org
“ทุกปัญหาด้านพลังงาน เราช่วยท่านได้”
หากท่านมีความประสงค์ที่จะประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ศูนย์ฯ ยินดีเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลครับ Scan by IT TCC&BOT