
เรื่อง เชิญเข้าร่วม ประชุมเชิญปฏิบัติการ เรื่อง “ความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ชายแดน”
เรียน ผู้ประกอบการ สมาชิกหอการค้า
สิ่งที่ส่งมาด้วย กำหนดการและแบบตอบรับ การประชุมเชิงปฏิบัติการ
สืบเนื่องจากหอการค้าจังหวัดตากร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน ได้จัดประชุมเชิญปฏิบัติการ เรื่อง “ความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ชายแดน” ซึ่งโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงงาน กระทรวงแรงงาน ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2557 ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านต่างๆ ของสถานประกอบการ ในพื้นที่ชายแดน อ.แม่สอด จังหวัดตาก และจังหวัดเมียวดีประเทศเมียนมาร์ นั้น
ในการนี้ หอการค้าจังหวัดตาก ขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น เรื่อง “ความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานในพื้นที่ชายแดน” เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจชายแดนแม่สอดจังหวัดตาก ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชุมหอการค้าจังหวัดตาก เวลา 9.00 น.- 16.00 น. ทั้งนี้ ขอให้ส่งแบบตอบรับ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2557 หรือทางโทรสาร หมายเลข 055-564131 หรือ E-mail takchamber@gmail.com
ผู้ประกอบการท่านใดสนใจพัฒนาทักษะบุคลากรของท่าน
ดาวโหลดแบบตอบรับ ที่นี่
รายละเอียด
โครงการพัฒนาฝีมือและศักยภาพแรงงานกลุ่มเครือข่ายแรงงานนานาชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗
.....................
๑. ชื่อโครงการ : โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความร่วมมือด้านกิจกรรมแรงงานข้ามชาติ”
๒. เลขที่โครงการ : กพร. /๒๕๕๗
๓. หน่วยงานเจ้าของโครงการ : ฝ่ายวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศ
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน
๔. ความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์
๔.๑ นโยบายรัฐบาล
๔.๑.๑ นโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) มีนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นำร่อง ๕ แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร, อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว, อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
๔.๑.๒ นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
ข้อ ๒.๓ พัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาความสัมพันธ์ ของหน่วยงาน แก้ไขปัญหาต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานของการสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจทั้งภาครัฐและภาคประชาชน
๔.๑.๓ นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ข้อ ๗.๑ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยาย การคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่นๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค เพื่อส่งเสริมความเป็น เพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน
ข้อ ๗.๕ สนับสนุนการเข้าถึงในระดับประชาชนของนานาประเทศ พร้อมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประชาชน รัฐบาลและประชาคมระหว่างประเทศ มีทัศนคติในทางบวกต่อประชาชนและประเทศไทย
๔.๒ ประเด็นยุทธศาสตร์กระทรวงแรงงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
/๕.หลักการ...
๕. หลักการและเหตุผล
ตามนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ได้ประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นำร่องใน ๕ จังหวัดชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมพร้อมและสร้างโอกาสจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้กรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ๓ คณะ มากำกับดูแล ได้แก่ ๑) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิประโยชน์ ขอบเขตพื้นที่และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ๒) คณะอนุกรรมการศูนย์เบ็ดเสร็จด้านแรงงาน สาธารณสุข และความมั่นคง มีปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และ ๓) คณะอนุกรรมการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร มีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน
สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) จะนำร่องในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น เป็นพื้นที่อยู่ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นเส้นทางที่แต่ละรัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะเป็นประตูเชื่อมโยงไปยังกรุงย่างกุ้งซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สามารถเชื่อมโยงไปยังอินเดียและจีนตอนใต้ ในขณะเดีย;กันยังเชื่อมการค้าจากกรุงย่างกุ้ง เมาะละแหม่ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ผ่านจังหวัดเมียวดีเข้ามายังด่านแม่สอด จังหวัดตาก เข้าสู่ประเทศไทย ผ่านสุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ไปยังด่านพรมแดนจังหวัดมุกดาหาร ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้วเข้าสู่แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านไปยังเมืองเว้ ท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม โดยเส้นทางการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยจากจังหวัดตาก-มุกดาหาร มีระยะทาง ๗๑๓ กิโลเมตร
ปัจจุบัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง กำลังดำเนินการเพื่อให้เส้นทาง การขนส่งจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ถึงอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งรัฐบาล ได้มีการอนุมัติโครงการต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจดังกล่าวอีกหลายโครงการ เพื่อเป็นการสร้างการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ เพราะเหตุนี้ จึงทำให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่เป้าหมายของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดถึงนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคโดยการจัดตั้งและพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนที่มีเมืองคู่แฝดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมความเจริญไปสู่ภูมิภาคและยับยั้งแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมิให้ไหลบ่าเข้าไปยังส่วนในของประเทศ
ดังนั้น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสน จึงได้จัดทำโครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงาน เรื่อง “ความร่วมมือด้านกิจกรรมแรงงานข้ามชาติ” เพื่อประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่มีการใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ตอดถึงการศึกษาดูงานพื้นที่การจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอดและโรงงานอุตสาหกรรมในอำเภอแม่สอด เพื่อนำผลที่ได้จากการประชุมและศึกษาดูงานมาจัดทำเป็นตัวแบบ (Model) ในการวางแผนการดำเนินงานในพื้นที่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่อื่นๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต่อไป
๖. วัตถุประสงค์...
๖. วัตถุประสงค์ของโครงการ
๖.๑ เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
๖.๒ เพื่อรวบรวมข้อมูลช่องทางการผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้านไทย - เมียนมา ทั้งจุดผ่านแดนถาวรและจุดผ่อนปรน ซึ่งเป็นทั้งทางผ่านของแรงงานข้ามชาติ ช่องทางการค้าและ การท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
๖.๓ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวปฏิบัติกับแรงงานข้ามชาติ ทั้งในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การสาธารณสุขและสิทธิมนุษย์ชน
๖.๔ เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติเชียงแสนในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘
๗. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๖๐ คน ประกอบด้วย
๗.๑ บุคลากรหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเขตภาคเหนือ
๗.๒ บุคลากรจากหน่วยงานภาคเอกชนไทย-เมียนมา
7.3 ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดตาก-เมียวดี
๗.4 สื่อมวลชน
กำหนดการ (จริง)
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ความร่วมมือด้านกิจกรรมแรงงานข้ามชาติ”
ระหว่างวันที่ ๑5 – ๑7 สิงหาคม ๒๕๕๗
ณ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
วันที่ 15 กันยายน 2557 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
|
13.00-18.30 น.
|
คณะผู้เข้าประชุมเดินทางถึงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก/ลงทะเบียนเข้าที่พัก
|
18.30-๒๐.๐๐ น.
|
รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อนตามอัธยาศัย
|
วันที่ 16 กันยายน 2557 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
|
๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.
|
รับประทานอาหารเช้า
|
๐๘.๐๐-๐๘.๔๕ น.
|
ลงทะเบียน
|
๐๘.๔๕-๐๙.๐๐ น.
|
พิธีเปิดการประชุม/ถ่ายภาพที่ระลึก
|
09.00-๑๗.๐๐ น.
|
การประชุมหารือและนำเสนอข้อคิดเห็น เรื่อง สถานการณ์แรงงานประเทศเพื่อนบ้าน (เมียนมา) ในปัจจุบันและแนวทางความร่วมมือด้านกิจกรรมแรงงานข้ามชาติ ณ ห้องประชุมโรงแรมเซนทารา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
|
1๘.00-๒1.๓0 น.
|
รับประทานอาหารเย็น
|
๒๑.๓๐ น.
|
เข้าที่พัก/ พักผ่อนตามอัธยาศัย
|
วันที่ 17 กันยายน 2557 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
|
๐๗.๐๐-0๘.๓0 น.
|
รับประทานอาหารเช้า
|
0๘.๓0-12.00 น.
|
ศึกษาดูงานโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยเน้นโรงงานที่มีการใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อศึกษาผลิตภาพแรงงาน (Productivity) ผลกระทบของการจ้างงานในอนาคต และแนวทางการดำเนินการด้านการพัฒนาทักษะฝีมือและศักยภาพแรงงาน รองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอดและเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย
|
13.๓0-๑5.30 น.
|
ศึกษาดูงานพื้นที่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พื้นที่การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ ๒ จุดผ่านแดนระหว่างไทย-เมียนมา และตลาดการค้าไทย-เมียนมา เพื่อศึกษาบริบทต่างๆ ของเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับการจัดทำตัวแบบ (Model) สำหรับการจัดประชุม/สัมมนาการพัฒนาทักษะฝีมือและศักยภาพแรงงานรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่อื่นๆต่อไป
|
๑5.30-18.๐0 น.
|
เดินทางกลับที่พัก
|
หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม