สรุปสาระสำคัญการบรรยาย “ เรื่อง SMEs กับการนำไทยให้ก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0 โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
19 พ.ย. 2560
การบรรยาย เรื่อง SMEs กับการนำไทยให้ก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0
โดย ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35 วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- SMEs เป็นฟันเฟืองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยช่วยกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคประชาชนได้อย่างทั่วถึง ในหลายประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไม่ว่า เยอรมัน อิตาลี ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ต่างก็มี SMEs ที่มีความเข้มแข็ง ซึ่งการพัฒนา SMEs ไม่เพียงแค่สนับสนุนให้ตั้งธุรกิจได้ง่ายแต่รวมถึงต้องทำให้ SMEs เติบโตได้ตามพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ ปรับตัวได้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีความซับซ้อนมีทิศทางที่คาดเดาได้ยากมีความผันผวนสูงที่เรียกว่าโลก VUCA
- SMEs จะก้าวนำไทยก้าวไกลไปกับโลกยุค 4.0 จะต้องพิจารณาถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ ประกอบด้วยเรื่อง บริบทของโลก 4.0 ที่ SMEs ต้องเผชิญจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร เรื่อง SMEs ไทยควรปรับตัวอย่างไรให้ทันและได้ประโยชน์จากยุค 4.0 และบทบาทภาครัฐในการสนับสนุน SMEs ไทย การเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า Ecosystem หรือระบบนิเวศน์ซึ่งคนในวงกว้างจะได้รับประโยชน์ ส่วนทีไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจะไม่สามารถอยู่ได้
- การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 จะมีการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 6 มติ ดังนี้
1. เศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน (Sharing Economy) จะลดบทบาทของธุรกิจตัวกลาง โดยมองการใช้และแบ่งปันทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน อาทิ Uber Air B&B Alibaba Facebook ที่ไม่ต้องสต็อกสินค้า หรือ การใช้จักรยานในการเดินทาง การใช้ Moblie bank มาใช้ในการดำเนินธุรกิจของตนซึ่งการใช้ประโยชน์ร่วมกันจะเป็น Plat form ที่ดึงดูดคนที่ไม่รู้จักกันมาใช้ประโยชน์ในทรัพยากรทางธุรกิจร่วมกัน และลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SMEs และรูปแบบเศรษฐกิจเชิงแบ่งปันไม่ได้เกิดขึ้นใน Plat form ระดับโลกเท่านั้น แต่ให้เกิดในระดับท้องถิ่นด้วยการใช้ Co-working space การใช้ระบบ Clound Computing ทีไม่ต้องมี server นำไปสู่การลดต้นทุน SMEs
2. การจัดการข้อมูลและการใช้ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของธุรกิจ โดยข้อมูลจะแสดงถึงการใช้ชีวิต การตัดสินใจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม โดย Internet of Thing และ Big Data จะมีความสำคัญต่อการให้บริการ ซึ่งจะช่วยให้ SMEs สามารถติดตามข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
3. ธุรกิจจะแข่งขันด้วยความรวดเร็ว (Economy of Speed) ซึ่งเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วขึ้น อาทิ E-commerce หรือ Plat form ส่งผลต่อราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และผู้บริโภคสามารถประเมินความพึงพอใจได้ทันที
4. อาชีพ รูปแบบการทำงาน และตำแหน่งงานในอนาคตที่จะเปลี่ยนจากปัจจุบันไปอย่างมาก โดยเทคโนโลยี จะช่วยเข้าไปปรับเปลี่ยนรูปแบบในการทำงานประจำ ขณะที่ Big DATA จะช่วยพัฒนา Skill Labor ทั้งนี้ WEF รายงานว่าการใช้ AI จะทำให้ตำแหน่งงานในบางธุรกิจหายไปประมาณ 5 ล้านตำแหน่งใน 15 ประเทศ โดยมีการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI การใช้หุ่นยนต์มาแทนแรงงานคนมากขึ้น ในขณะที่งานลักษณะ freelance จะมีช่องว่างและโอกาสเข้าสู่ระบบแรงงานได้มากขึ้นเนื่องจากมีศักยภาพและทักษะเฉพาะด้าน
5. โครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อ SMEs และผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุ จะมีพฤติกรรมที่ต่างจากวัยรุ่นในด้านการบริโภค ดังนั้น การจับจ่ายจะมุ่งสู่การบริการสุขภาพ และการท่องเที่ยว ประกอบกับปัญหาแรงงานจะหายากมากขึ้น ทำให้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนจะเห็นได้จากตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาลักษณะดังกล่าวและเสี่ยงที่ SMEs จะต้องปิดตัวลงจากปัญหาดังกล่าว
6. กฎเกณฑ์ กติกา ต้องเปลี่ยนแปลงตามบริบทโลกใหม่ ซึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จะช่วยให้มีการตรวจสอบการดำเนินงาน การสร้างบรรทัดฐาน การรักษาสิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรมาภิบาล โดยกฎเกณฑ์ที่ไร้พรมแดนนี้จะเข้ามาบังคับตามบรรทัดฐานใหม่ซึ่งจะมีผลกระทบต่อธุรกิจ อาทิ IUU Fishing , Tractability การตรวจสอบย้อนกลับ ดังนั้น ควรมองการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของบริบทการเปลี่ยนแปลง
- การปรับตัวเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องตระหนัก ในโลกยุค 4.0 แข่งขันด้วยความเร็ว ถือเป็นปัจจัยสำคัญของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SME ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตัว ใน 5 ด้าน ดังนี้
1. การเพิ่มผลิตภาพ ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดย SMEs ต้องปรับตัวเชิงรุกโดยใช้เทคโนโลยีในทุกขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ อาทิ การบริหารสินค้า การบริการลูกค้า เป็นต้น
2. การทำธุรกิจเชิงแบ่งปัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ต้องปรับทัศนคติกับวิถีการแบ่งปัน คือ การสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน อาทิ UBER เปิดใจให้คนแปลกหน้าขึ้นรถยนต์ของตน E-commerce Platform หลายแห่ง ยินดีส่งสินค้าก่อนรับเงิน เป็นต้น
3. ข้อมูลต้องเป็นส่วนสำคัญกับการทำงานและการตัดสินใจ โดย SMEs จะต้องเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้สามารถใช้ Appication ที่ธนาคารต่างๆ จัดทำขึ้น สำหรับการตรวจบัญชี การจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4. การบริหารความเสี่ยง โลก 4.0 มีความเสี่ยงหลายมิติ ตั้งแต่ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกปลี่ยน โดยผู้ส่งออกจะเลือกรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาที่มีความผันผวน
5. การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยต้องพัฒนาทักษะผ่านโลกดิจิทัล ผ่าน Open Platform ต่างๆ ในปัจจุบัน
- ภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Eco System โดยมี 2 ประเด็นสำคัญ
1. การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรค โดยประเทศไทย มีกฎหมายไม่น้อยกว่า 100,000 ฉบับ และใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 3,000 ประเภท อาทิ เอกชน ต้องขอใบอนุญาตในการตั้งบริษัทไม่น้อยกว่า 20 ประเภท ซึ่งเป็นต้นทุนทางธุรกิจและเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ
2. การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานกลาง (Open Platform) ที่จะช่วยให้ SMEs สามารถใช้ข้อมูลส่วนกลางได้ การยกระดับศักยภาพ SMEs เป็นเรื่องที่สำคัญ การให้สินเชื่อ SMEs ไม่ใช่ประเด็นหลักในการยกระดับ SMEs แต่ควรสนับสนุนโดยการให้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การให้องค์ความรู้ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการให้บริการสมัยใหม่ จากภาครัฐผ่านโครงสร้างพื้นฐานกลาง (OPEN Platform)
- ธปท. ได้ปรับยุทธศาสตร์ให้เข้าสู่ยุค 4.0 โดยให้ความสำคัญด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการใช้ BigData ในการจับชีพจรของเศรษฐกิจ ส่งเสริมการให้ความรู้ในการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน (FX regulatory guillotine) นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ปฏิรูปกฎเกณฑ์ กฎหมายที่ล้าสมัย เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนเงินให้ SMEs มีความสะดวกมากขึ้น อาทิ การยกเลิกแบบฟอร์มขอแลกเปลี่ยนเงินซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจ ประหยัดเงินมากกว่า 1 พันล้านบาท
- ปรับปรุงระบบการเงิน สร้างโอกาสทางธุรกิจ และการเข้าถึงระบบการเงินในราคาประหยัด อาทิ ระบบพร้อมเพย์ ซึ่งเป็น Platform กลางให้เข้าถึงระบบการเงินได้ง่ายและประหยัดมากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการทำโครงการ Bill payment
- การสร้างสนามทดสอบนวัตกรรมทางการเงิน (Regulatory sandbox) อาทิ การบริการทางการเงินข้ามพรมแดน (Block Chain) และ Biometric เช่น ม่านตา เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริการมากขึ้น
- ผลักดันมาตรฐานและการใช้ QR Code ในการชำระเงินซึ่งจะเป็นครั้งแรกในโลกที่บริษัทเครดิต 5 ธนาคารหลักของโลกตกลงร่วมกันพัฒนาและใช้มาตรฐาน QR Code เดียวกันในการชำระเงินจะส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ และมีผู้ให้บริการใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันได้ง่ายขึ้นลูกค้าสามารถใช้ mobile application ของตนอ่าน QR Code ของร้านค้าได้ทุกแห่งทั่วโลกและตอบสนองต่อธุรกิจ SMEs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผลักดัน พรบ.ระบบชำระเงิน ฉบับใหม่ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การชำระเงินตามมาตรฐานสากล ลดขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคสำหรับผู้ให้บริการชำระเงินซึ่งกฏหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2561 นี้


ทีี่มาข้อมูล
https://www.thaichamber.org/th/news/view/272/